วันศุกร์ที่ 15 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2551

พิพิธภัณฑ์ประวัติศาสตร์>>พิพิธภัณฑ์ชาวบางกอก



พิพิธภัณฑ์ชาวบางกอก
ประวัติ..
หลังจากสิ้นสุดของสงครามโลกครั้งที่ 2 ในปี 2488 กรุงเทพฯ ได้เปลี่ยนจาก “ สวนและชนบท” เป็น เมืองใหญ่ ภายในพิพิธภัณฑ์ฯ ได้รวบรวมสิ่งของและเครื่องใช้ในอดีต ที่แสดงถึงวิวัฒนาการของวิถีชีวิตและความเป็นอยู่ของคนกรุงเทพฯ ตั้งแต่สมัยสงครามโลกครั้งที่ 2

การจัดแสดง..
บ้านหลังที่ 1 เป็นบ้านไม้ทรงปั้นหยาสร้างในปี 2480 ภายในบ้านยังคงรักษาบรรยากาศเดิม ไม่ว่าจะเป็นห้องนอนห้องรับแขกหรือแม้แต่เครื่องเรือนก็เป็นยุคเดียวกันกับตัวบ้าน

บ้านหลังที่ 2 เนื่องจากเจ้าของบ้านเดิมเป็นนายแพทย์ชาวอินเดีย ซึ่งสำเร็จการศึกษาจากประเทศอังกฤษ สิ่งของภายในบ้านจึงบ่งบอกถึงการถ่ายทอดวัฒนธรรม ระหว่างตะวันออกและตะวันตกได้อย่างน่าสนใจ
อาคารห้องแถว จัดเป็นห้องนิทรรศการแสดงสิ่งของเครื่องใช้ในชีวิตประจำวัน เช่น เครื่องครัว เครื่องมือช่าง ฯลฯ

ที่ตั้ง..

ที่ตั้ง: 273 ซ.เจริญกรุง 43 ถ.เจริญกรุง แขวงสี่พระยา เขตบางรัก กรุงเทพฯ 10500
โทรศัพท์ : (662)233-7027 (พิพิธภัณฑ์) 321-6930-8:กองทะเบียน (คุณวราพร สุรวดี)

การเดินทาง..
รถประจำทาง:1 35 36 75 93
รถปรับอากาศ:9 ปอ.พ.16

การให้บริการ..
เวลาทำการ: ติดต่อ:จันทร์-ศุกร์ 9.00-17.00 น. พิพิธภัณฑ์:เสาร์ อาทิตย์ 10.00-17.00 น.

ค่าเข้าชม..
ค่าธรรมเนียม-ค่าเข้าชม: ไม่เสียค่าธรรมเนียม

พิพิธภัณฑ์ประวัติศาสตร์>>พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พระนคร


พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พระนคร

ประวัติ..
เดิมนั้นเป็นพิพิธภัณฑสถานส่วนพระองค์ของรัชกาลที่ 4 ซึ่งจัดเก็บรักษาศิลปะโบราณวัตถุและเครื่องราชบรรณาการต่อมาในสมัยรัชกาลที่ 5 โปรดเกล้าฯ ให้ใช้ศาลาสหทัยสมาคมหรือหอคองคอเดียในพระบรมมหาราชวังจัดตั้ง "พิพิธภัณฑสถานสำหรับประชาชน" ขึ้นจากนั้นพิพิธภัณฑ์ได้ย้ายมายังพระที่นั่ง 3 องค์ในพระราชวังบวรสถานมงคล (วังหน้า) ในสมัยรัชกาลที่ 7 ทรงพระราชทานพระที่นั่งและหมู่พระวิมานทั้งหมดในวังหน้าให้เป็น "พิพิธภัณฑสถานสำหรับพระนคร"
ลักษณะพื้นที่การจัดแสดงแบ่งเป็น 3 หมวดคือ
ประวัติศาสตร์ชาติไทย เริ่มตั้งแต่อาณาจักรสุโขทัยจนถึงสมัยรัตนโกสินทร์จัดแสดง ณ พระที่นั่งศิวโมกข์พิมาน

ประวัติศาสตร์ศิลปะและโบราณคดีในประเทศไทย แบ่งเป็น 2 ยุค โดยสมัยก่อนประวัติศาสตรแสดงในพระที่นั่งศิวโมกข์พิมานด้านหลัง ส่วนสมัยประวัติศาสตร์จัดแสดงประติมากรรมสมัยพุทธศตวรรษที่ 18 ถึงสมัยรัตนโกสินทร์ที่อาคารประพาสพิพิธภัณฑ์และประติมากรรมสมัยก่อนพุทธศตวรรษที่ 18 นั้นจัดแสดงในอาคารมหาสุรสิงหนาถ ประณีตศิลปละชาติพันธุพิทยา จัดแสดงเครื่องดนตรี เครื่องถม เครื่องถ้วย เครื่องทอง เครื่องมุก เครื่องไม้จำหลัก เครื่องสูง ผ้าโบราณ หัวโขน หุ่นกระบอก ฯลฯ ในอาคารหมู่พระวิมาน
อาคารโรงราชรถ จัดแสดงราชรถใช้ในการพระบรมศพเช่น พระมหาพิชัยราชรถ เวชยันตรราชรถ ราชรถน้อย และเครื่องประกอบในพระราชพิธีถวายพระเพลิงพระบรมศพ

นอกจากศิลปะโบราณวัตถุแล้ว พระตำหนักและพระที่นั่งบางองค์นายในพิพิธภัณฑ์ เช่น พระที่นั่งพุทไธสวรรย์พระที่นั่งมังคลาภิเษก พระตำหนักแดง ศาลาลงสรง ฯลฯ ถือได้ว่าเป็นตัวอย่างสถาปัตยกรรมไทยสมัยรัตนโกสินทร์ตอนต้นที่มีความลงตัวอันโดดเด่นและงดงามอย่างยิ่ง

ที่ตั้ง...

ที่ตั้ง:ถ.หน้าพระธาตุ แขวงพระบรมมหาราชวัง เขตพระนคร กรุงเทพฯ 10200
โทรศัพท์ (662) 224-1333
แฟกซ์ (662) 224-1404

การเดินทาง..
รถประจำทาง: 3 6 9 15 19 30 32 33 39 43 47 53 59 60 65 70 80 82 91 123 201 203
รถปรับอากาศ:1 8 25 506 507 512 สาย38 39 82
ท่าเรือ: เรือด่วนเจ้าพระยา: ท่าช้าง

การให้บริการ..
เวลาทำการ: พุธ-อาทิตย์ 9.00-16.00 น.
วันหยุดทำการ: จันทร์-อังคาร วันนักขัตฤกษ์

ค่าเข้าชม..
ค่าธรรมเนียม ค่าเข้าชม: คนไทย 20บาท ชาวต่างชาติ 100 บาท

พิพิธภัณฑ์ประวัติศาสตร์>>พิพิธภัณฑ์บ้านไทย จิม ทอมป์สัน




พิพิธภัณฑ์บ้านไทย จิม ทอมป์สัน


ประวัติ..

นายจิม ทอมป์สัน (James H. W. Thompson) ผู้ก่อตั้งร้านผ้าไหมไทย "จิม ทอมป์สัน” ที่มีชื่อเสียงโด่งดังทั่วโลกเดิมทางมาประเทศไทยครั้งแรกในฐานะทหารอาสาสมัครของกองทัพสหรัฐฯ ในระหว่างสงครามโลกครั้งที่ 2 เมื่อสงครามยุติเขาจึงกลับมาดำเนินธุรกิจค้าผ้าไหมในประเทศไทยหลังจากตัดสินใจอยู่ในกรุงเทพฯ เป็นการถาวร เขาซื้อ บ้านทรงไทยภาคกลาง 6 หลังจากจังหวัดพระนครศรีอยุธยา มาปลูกใหม่ในกรุงเทพฯ ที่ริมคลองแสนแสบ ตัวบ้านแบ่งเป็น 2 ชั้น ชั้นบนเป็นห้องอาหาร ห้องนั่งเล่นห้องอ่านหนังสือ ห้องนอนสำหรับแขกและห้องนอนของเขาสิ่งของที่ตกแต่งภาย ในสะท้อนถึงความสนใจในวัฒนธรรมโบราณวัตถุและศิลป วัตถุทางเอเชียของเขาเป็นอย่างมากส่วนชั้นล่างจัดเป็นห้อง เบญจรงค์แสดงเครื่องเบญจรงค์เครื่องเคลือบดินเผาสีน้ำเงิน ขาวของจีน และบ้านรูปภาพจัดแสดงภาพเขียนโดยช่างไทยในปี 2403 แสดงถึงชีวิตความเป็นอยู่ในสมัยนั้น


พิพิธภัณฑ์จัดตั้งขึ้นหลังจากการหายตัวอย่างลึกลับของเขาในประเทศมาเลเซีย บ้านไทยหลังนี้และผ้าไหมจิมทอมป์สันจึงเป็นเสมือนมรดกของความกลมกลืนระหว่างความเป็นตะวันออกกับตะวันตกที่จิม ทอมป์สันสร้างสรรค์เพื่อเป็นตัวแทนของเขาต่อประเทศไทย


ที่ตั้ง..
ที่ตั้ง : 6 ซ. เกษมสันต์ 2 ถ. พระราม 1 แขวงวังใหม่ เขตปทุมวัน กรุงเทพฯ 10330
โทรศัพท์ : (662) 216-7368 โทรสาร : (662) 612-3744

การเดินทาง..

รถประจำทาง : 15 47 48 73 204รถปรับอากาศ : 8 ทางด่วน สาย 38 ปอ.พ.1ท่าเรือ : เรือโดยสาร: (ท่าหัวช้าง)

การให้บริการ..
เวลาทำการ : ทุกวัน 9.00-16.30 น.
ค่าธรรมเนียม ค่าเข้าชม : ผู้ที่อายุต่ำกว่า 25 ปี 50 บาท บุคคลทั่วไป 100 บาท

บริการเพิ่มเติม..

มัคคุเทศก์ : ญี่ปุ่น ฝรั่งเศส อังกฤษ

พิพิธภัณฑ์ประวัติศาสตร์>>พิพิธภัณฑ์เครื่องราชอิสริยาภรณ์ไทย


พิพิธภัณฑ์เครื่องราชอิสริยาภรณ์ไทย

ประวัติ..

พิพิธภัณฑสถานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ไทยหอวิวัฒนาการคณะรัฐมนตรีและราชกิจจานุเบกษาเครื่องราชอิสรอยาภรณ์ไทยที่ใช้ประดับกับเสื้อ เกิดขึ้นครั้งแรกในสมัยรัชกาลที่ ๔ โดยทรงมีพระราชดำริให้สร้างเหรียญตราขึ้นในปี ๒๔๐๐ เพื่อใช้ประดับเสื้อแสดงฐานะผู้ที่ได้รับพระราชทาน ทรงโปรดเกล้าฯ ให้เรียกว่า "เครื่องประดับสำหรับยศ” ส่วนของพระมหากษัตริย์ทรงเรียกว่า "เครื่องราชอิสริยยศ” และเครื่องประดับขุนนางทรงเรียกว่า "เครื่องสำคัญยศ” เมื่อถึงสมัยรัชกาลที่ ๕ ทรงเรียกเครื่องประดับสำหรับยศว่า "เครื่องราชอิสริยาภรณ์” เป็นครั้งแรกพิพิธภัณฑสถานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ไทย

การจัดแสดง...
จัดแสดงที่ชั้นล่าง ประกอบด้วยประวัติ เน้อหา การประดับเครื่องราชอิสริยาภรณ์ตระกูลต่างๆ โดยจัดแสดงบนหุ่นเรียงลำดับตามความสำคัญของเครื่องราชอิสริยาภรณ์ และจัดแสดงเหรียญราชอิสิยาภรณ์ ประกาศนียบัตรกำกับเครื่องราชฯ ด้วยห้องแสดงราชกิจจานุเบกษา พระราชสัญจกร รัฐธรรมนูญไทย จัดแสดงที่บริเวณห้องชั้นบนด้าทิศเหนือของอาคารห้องแสดงวิวัฒนาการคณะรัฐมนตรีไทย จัดแสดงที่ห้องชั้นบนด้านทิศใต้ โดยแสดงถึงประวัติ ความเป็นมาและลำดับการจัดตั้งคณะรัฐมนตรีในการปกครองประเทศของไทย


ที่ตั้ง..
อาคาร ร.ร. นายร้อยพระจุลจอมเกล้า(เดิม) ทำเนียบรัฐบาล ถ. พิษณุโลก แขวงวัดเบญจมบพิตรเขตดุสิต กรุงเทพฯ 10300
โทรศัพท์ : (662) 281-2240(ประชาสัมพันธ์) 280-6262(พิพิธภัณฑ์)
โทรสาร : (622) 282-8147


การเดินทาง..
ถประจำทาง : 10 23 70 201
รถปรับอากาศ : 3 70 183 201 505 509 521 ปอ.พ.8


การให้บริการ..
จันทร์-ศุกร์ 8.30-16.30 น.วันหยุดทำการ : เสาร์ อาทิตย์ วันนักขัตฤกษ์


ค่าเข้าชม..
ค่าธรรมเนียม ค่าเข้าชม : ไม่เสียค่าธรรมเนียม แต่ต้องเข้าชมเป็นหมู่คณะไม่ต่ำกว่า 10 คน โดยทำหนังสือขออนุญาตถึงเลขาธิการคณะรัฐมนตรีล่วงหน้าเป็นเวลา 1 สัปดาห์

พิพิธภัณฑ์ประวัติศาสตร์>>บ้านพิพิธภัณฑ์



บ้านพิพิธภัณฑ์


บ้านพิพิธภัณฑ์ดำเนินการเพื่อประโยชน์แก่สาธารณะ โดยสมาคมกิจวัฒนธรรมและอาสาสมัคร ทำพิธีเปิดอย่างเป็นทางการเมื่อวันเสาร์ที่ 14 กรกฎาคม พ.ศ.2544

คำว่าบ้านพิพิธภัณฑ์ หรือ House of Museums หมายถึงบ้านที่รวบรวมของต่างๆโดยหวังว่าจะเป็นแรงกระตุ้นให้เกิดพิพิธภัณฑ์แขนงต่างๆ ขึ้นอีกต่อไป

เรื่องราวที่จัดแสดง คือวิถีชีวิตชาวตลาดชาวเมืองในยุค 2500 และใกล้เคียง

ของที่จัดแสดง ส่วนใหญ่มาจากการบริจาค (ฉะนั้นแต่ละหมวดจึงไม่ได้มีของสมบูรณ์ทุกยุคทุกสมัย) อีกส่วนหนึ่งมาจากการซื้อด้วยเงินรายได้เท่าที่พอมี เพื่อให้มีของแปลกๆ มาเสริมให้ผู้ชมได้ดูของมากขึ้นเรื่อยๆ

เหตุที่จัดทำบ้านพิพิธภัณฑ์ขึ้นมาก็เพราะเห็นว่าของดีจำนวนมากถูกทิ้งไปโดยเปล่าประโยชน์ ในขณะที่เราไม่สามารถหาชมของจำพวกนี้ เช่น ตู้โต๊ะตั่งเตียงสวยๆ, แบบเรียน, ป้ายโฆษณา, ขวดน้ำอัดลม, แก้วน้ำ, ชามก๋วยเตี๋ยว, กล้องถ่ายรูป, ของแถม,ของเล่น, กระบอกเสียง ฯลฯ ได้จากพิพิธภัณฑ์ทั่วไป เพื่อให้มีแหล่งรับบริจาคและเก็บของ (ซึ่งจริงๆ แล้วรัฐควรเป็นผู้จัดทำทั้ง 4 ภาคหรือทุกจังหวัด) สมาคมกิจวัฒนธรรมจึงลงมือทำไปตามกำลังก่อนดังที่เห็น

“บ้านพิพิธภัณฑ์” เป็นบ้านของส่วนรวมหรือของสาธารณะ แทบทุกอย่างมาจากการบริจาค เริ่มตั้งแต่ที่ดิน 58 ตารางวา จาก ร.อ.อาลักษณ์ อนุมาศ, การออกแบบก่อสร้างอาคาร, การออกแบบห้องแสดง, ข้าวของที่นำมาจัดแสดง และที่สุดคือกรรมการซึ่งสละเวลามาช่วยกันทำงานเพื่อส่วนรวมโดยไม่มีเงินเดือน

สมาคมกิจวัฒนธรรมซึ่งก่อตั้งเมื่อ พ.ศ.2532 ปัจจุบัน พ.ศ.2550 มี ธงชัย ลิขิตพรสวรรค์ เป็นนายกสมาคม

การจัดแสดง..

เดิมบ้านพิพิธภัณฑ์มี 1 หลัง ปัจจุบันมี 2 หลัง
แนวการออกแบบหรือจัดแสดง คือ กั้นห้องเป็นเหมือนห้องแถวในตลาด

บ้านพิพิธภัณฑ์หลังที่ 1
ชั้น 1 จัดเป็นร้านของเล่น, ร้านขายของจิปาถะ, ร้านขายยา และร้านขายของที่ระลึก

ชั้น 2 จัดเป็นโรงหนัง โรงพิมพ์ในตรอกข้างโรงหนัง ร้านตัดผม-ตัดเสื้อ ร้านให้เช่าหนังสือนิยาย ร้านถ่ายรูป, ห้องครัว, บ้านสุวัตถี และห้องจัดแสดงของทั่วไป

ชั้น 3 จัดเป็นห้องเรียน ห้องนายอำเภอ ร้านขายแผ่นเสียง วิทยุโทรทัศน์ ร้านทองและร้านสรรพสินค้า

บ้านพิพิธภัณฑ์หลังที่ 2 มีชั้นเดียว สมมุติเป็นตลาดริมน้ำมีนอกชาน สร้างม้านั่งไว้ให้นั่งเล่นกันหน้าร้านกาแฟ, ร้านขายของชาวบ้าน, นอกจากนั้นมีร้านทำฟัน, ร้านขายเครื่องเขียนแบบเรียน, ร้านทอง และแผงหนังสือข้างร้านทอง เปิดให้เข้าชมได้ตั้งแต่ปลายปี 2549

พิพิธภัณฑ์ประวัติศาสตร์>>พิพิธภัณฑ์นาฬิกาโบราณ, พระที่นั่งในพระราชวังดุสิต กรุงเทพมหานคร



พิพิธภัณฑ์นาฬิกาโบราณ, พระที่นั่งในพระราชวังดุสิต กรุงเทพมหานคร

พิพิธภัณฑ์นาฬิกาโบราณ จัดแสดงอยู่ในตำหนักพระองค์เจ้าหญิงพวงสร้อยสอางค์ ตำหนักหลังนี้พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 5 ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้สร้างพระราชทานแด่พระน้องนางเธอ พระองค์เจ้าหญิงพวงสร้อยสอางค์

ในปีที่มีการเปลี่ยนแปลงการปกครอง ปีพุทธศักราช 2475 พื้นที่บางส่วนของพระราชวังดุสิตได้อยู่ในความดูแลของกองทัพบก ราวปี พ.ศ. 2532 อดีตผู้บัญชาการทหารสูงสุดและผู้บัญชาการทหารบก (พลเอก ชวลิต ยงใจยุทธ) ได้ทำหนังสือกราบบังคมทูล พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว น้อมเกล้าฯ ถวายพื้นที่ในความดูแลนี้รวมทั้งตำหนักพระองค์เจ้าหญิงพวงสร้อยสอางค์ ให้อยู่ในความดูแลของสำนักพระราชวังอีกครั้งหนึ่ง

พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้พื้นที่ในความดูแลนี้ขึ้นอยู่กับฝ่ายพิพิธภัณฑ์พระที่นั่งวิมานเมฆ เลขาธิการสำนักพระราชวัง (นายแก้วขวัญ วัชโรทัย) ได้ขอพระราชทานพระบรมราชานุญาต บูรณะซ่อมแซมให้คงสภาพสมบูรณ์ดังเดิมและขอพระราชทานพระบรมราชานุญาตจัดเป็นพิพิธภัณฑ์

การจัดแสดง..
ปัจจุบันจัดแสดงจานกระเบื้องขนาดใหญ่ มีลายพระหัตถ์พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ซึ่งทรงไว้คราวเสด็จฯ เยือนโรงงานกระเบื้องแคนตาคัลลี ประเทศอิตาลี พ.ศ. 2440 และตุ๊กตากระเบื้องจากเดรสเดน ประเทศเยอรมณี พร้อมทั้งจัดแสดงนาฬิกาโบราณในรัชสมัยของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 5 ซึ่งถือว่าเป็นยุคทองของนาฬิกา เพราะรัชสมัยของพระองค์ยาวนานถึง 42 ปี ในราชสำนักก็มีนาฬิกาอยู่มาก เป็นนาฬิกาที่พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงสั่งซื้อจากต่างประเทศ ในรัชสมัยของพระองค์ท่าน ยังมีพระบรมวงศานุวงศ์ และบุคคลต่าง ๆ นำมาทูลเกล้าถวายฯ ต่อมาในรัชสมัยของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว พระองค์ท่านเสด็จฯ เยือนยุโรปถึง 2 ครั้ง ในปี พ.ศ. 2440 และ พ.ศ. 2450 ได้ทรงสั่งนาฬิกาแบบต่าง ๆ มาไว้ในราชสำนักและพระราชทานเป็นของที่ระลึกแด่พระบรมวงศานุวงศ์ เป็นจำนวนมาก อาทิ

- นาฬิกาคุณปู่ เป็นนาฬิกาที่หาได้ยากและไม่ซ้ำแบบใคร เป็นนาฬิกาที่พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงสั่งทำพิเศษจากประเทศอังกฤษ อเมริกา และเยอรมนี

- นาฬิกาแขวนผนัง เป็นนาฬิกาที่ผลิตในประเทศอเมริกา อังกฤษ และเยอรมนี พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงสั่งทำพิเศษทั้งสิ้น เช่น นาฬิกาโรงเรียนหรือนาฬิกาแมงดา นาฬิกาลอนดอน นาฬิกาไหมซอ เป็นนาฬิกาชั้นเยี่ยมที่ผลิตในประเทศเยอรมนี ใช้เส้นไหมที่ทำสายซอมาแทนเส้นลวดถ่วงลูกตุ้ม
- นาฬิกาตั้งโต๊ะ เป็นนาฬิกาที่พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงสั่งทำพิเศษ เช่น นาฬิกาที่สามารถเดินได้ถึง 400 วัน เมื่อไขลานเต็มที่ 1 ครั้ง ผลิตจากประเทศเยอรมนี
- นาฬิกาตั้งโต๊ะที่มีตะเกียงน้ำมันส่องแสง เป็นนาฬิกาที่มีความพิเศษตรงที่หน้าปัดที่เป็นกังใสจะเดินแทนเข็มนาฬิกา ซึ่งจะหยุดอยู่กับที่

- นาฬิกาตั้งโต๊ะที่ทำด้วยกระเบื้องจากประเทศเยอรมนี มีตุ๊กตาชายหญิงประดับ

-นาฬิกาตะเกียง และนาฬิกาปลุก
นาฬิกาโบราณสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงสั่งทำพิเศษและเป็นนาฬิกาที่หยุดเดินมานานนับร้อยปีแล้ว ปัจจุบันนาฬิกาเหล่านี้สามารถเดินได้ดังเดิม โดยการนำมาทำความสะอาดล้างปัดฝุ่นเท่านั้น

พิพิธภัณฑ์ประวัติศาสตร์>>พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พระราชวังจันทรเกษม

พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พระราชวังจันทรเกษม

ประวัติ..
พระราชวังจันทรเกษม ตั้งอยู่บริเวณริมแม่น้ำป่าสัก (คลองคูขื่อหน้า) ทางด้านทิศเหนือ มุมตะวันออกของเกาะเมืองอยุธยา ใกล้ๆ กับตลาดหัวรอ ตำบลหัวรอ อำเภอพระนครศรีอยุธยา พระราชวังจันทรเกษมหรือวังหน้า ปรากฏหลักฐานตามพระราชพงศาวดารสันนิษฐานได้ว่า สร้างขึ้นในสมัยสมเด็จพระมหาธรรมราชาธิราช ประมาณ พ.ศ. 2120 โดยมีพระราชประสงค์เพื่อให้เป็นที่ประทับของสมเด็จพระนเรศวรมหาราช
นอกจากนี้ยังเคยเป็นที่ประทับของพระมหากษัตริย์และพระมหาอุปราชที่สำคัญถึง 8 พระองค์ คือ
- สมเด็จพระนเรศวรมหาราช
- สมเด็จพระเอกาทศรถ
- เจ้าฟ้าสุทัศน์
- สมเด็จพระนารายณ์มหาราช
- ขุนหลวงสรศักดิ์ (พระเจ้าเสือ)
- สมเด็จพระเจ้าท้ายสระ
- สมเด็จพระเจ้าบรมโกศ
- กรมพระราชวังบวรมหาเสนาพิทักษ์

ภายหลังเสียกรุงศรีอยุธยาครั้งที่ 2 ในปี พ.ศ. 2310 พระราชวังจันทรเกษมได้ถูกทิ้งร้างไป จนกระทั่งในสมัยพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวแห่งกรุงรัตนโกสินทร์ จึงได้มีการบูรณะและปรับปรุงพระราชวังจันทรเกษมขึ้นใหม่ เพื่อใช้สำหรับเป็นที่ประทับในเวลาที่พระองค์เสด็จประพาสพระนครศรีอยุธยา และโปรดพระราชทานนามว่า พระราชวังจันทรเกษม เมื่อวันที่ 26 มีนาคม 2436

ต่อมาในสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้พระราชทานพระราชวังจันทรเกษม ให้เป็นที่ทำการของมณฑลกรุงเก่า โดยใช้พระที่นั่งพิมานรัตยา ซึ่งเป็นหมู่ตึกกลางของพระราชวังเป็นที่ตั้ง
จนกระทั่งเมื่อ พระยาโบราณราชธานินทร์ได้เข้ามาดำรงตำแหน่งสมุหเทศาภิบาลมณฑลกรุงเก่า จึงได้จัดสร้างอาคารที่ทำการภาคบริเวณกำแพงทางด้านทิศตะวันตกต่อกับทิศใต้ แล้วย้ายที่ว่าการมณฑลจากพระที่นั่งพิมานรัตยามาตั้งที่อาคารที่ทำการภาคในขณะนั้น

สถาปัตยกรรมพระราชวังจันทรเกษม
สิ่งก่อสร้างที่ปรากฏอยู่ในปัจจุบัน ส่วนใหญ่สร้างขึ้นในสมัยพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว จากนั้นจึงมีการใช้งานกันเรื่อยมา ทั้งเป็นที่ประทับของพระมหากษัตริย์และที่ทำการมณฑลเทศาภิบาล จนกระทั่งในสมัยสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว จึงได้มีการซ่อมแซมและบูรณะอาคารต่างๆ ขึ้นมาอีกครั้ง

1 กำแพงพระราชวัง ปัจจุบันก่อเป็นกำแพงอิฐ มีใบเสมา มีประตูด้านละ 1 ประตู รวม 4 ด้าน แต่เดิมนั้นคำให้การชาวกรุงเก่ากล่าวว่า วังจันทรเกษมมีกำแพง 2 ชั้น เช่นเดียวกับวังหลวง

2 พลับพลาจตุรมุข ตั้งอยู่บริเวณกำแพงด้านหน้าชานของพลับพลา แต่เดิมเป็นซากแนวอาคารก่ออิฐถือปูน ในสมัยพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้ทรงโปรดให้สร้างอาคารพลับพลาขึ้นในลักษณะอาคารจตุรมุขแฝด เพื่อใช้เป็นท้องพระโรงสำหรับออกงานว่าราชการ และที่ประทับในเวลาเดียวกัน

3 พระที่นั่งพิมานรัตยา มีลักษณะเป็นหมู่ตึกกลางพระราชวัง ประกอบด้วยอาคาร 4 หลัง คือ อาคารปรัศว์ซ้าย อาคารปรัศว์ขวา พระที่นั่งพิมานรัตยา และศาลาเชิญเครื่อง กลุ่มอาคารพระที่นั่งพิมานรัตยานี้ พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้พระราชทานให้เป็นที่ว่าการมณฑลกรุงเก่า ในปี พ.ศ. 2442

4 พระที่นั่งพิสัยศัลลักษณ์ (หอส่องกล้อง) มีลักษณะเป็นหอสูง 4 ชั้น บริเวณกำแพงด้านทิศตะวันออกและทิศใต้ สร้างขึ้นครั้งแรกในสมัยสมเด็จพระนารายณ์มหาราช ต่อมาในสมัยพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้ทรงสร้างขึ้นใหม่อีกครั้งตามแนวรากฐานอาคารเดิม และใช้เป็นที่ประทับทอดพระเนตรดวงดาว พระที่นั่งพิสัยศัลลักษณ์ (หอส่องกล้อง) สามารถขึ้นชมทิวทัศน์ของ จ. พระนครศรีอยุธยาได้
5 ตึกโรงม้าพระที่นั่ง เป็นอาคารก่ออิฐถือปูน 2 ชั้น ตั้งอยู่ริมกำแพงด้านทิศตะวันตกเฉียงเหนือ
6 อาคารสโมสรเสือป่า สร้างขึ้นในสมัยพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ตั้งอยู่บริเวณกำแพงพระราชวังด้านทิศตะวันออก
7 ตึกที่ทำการภาค (อาคารมหาดไทย) สร้างขึ้นในสมัยพระยาโบราณราชธานินทร์ เมื่อครั้งดำรงตำแหน่งสมุหเทศาภิบาลมณฑลกรุงเก่า มีลักษณะเป็นอาคารชั้นเดียว สร้างขนานไปกับแนวกำแพงด้านทิศตะวันตกต่อกับทิศใต้
8 ระเบียงจัดตั้งศิลาจำหลัก แต่เดิมสร้างเป็นระเบียงหลังคามุงสังกะสี ยาวไปตามแนวกำแพงด้านทิศเหนือและทิศตะวันออก ใช้สำหรับเป็นที่เก็บรักษาบรรดาโบราณวัตถุและศิลปวัตถุ ซึ่งพระยาโบราณราชธานินทร์รวบรวมไว้
ในระหว่างที่พระยาโบราณราชธานินทร์ ได้รับราชการดำรงตำแห่งสมุหเทศาภิบาลมณฑลอยุธยา ท่านได้ทำการศึกษาและรวบรามเรื่องราว รวมทั้งวัตถุสิ่งของสำคัญในบริเวณกรุงเก่าและบริเวณใกล้เคียงไว้เป็นจำนวนมาก มาเก็บรักษาไว้ที่พระราชวังจันทรเกษม จนกระทั่งในปีพุทธศักราช 2445 สมเด็จฯ กรมพระยาดำรงราชานุภาพ ได้ทรงแนะนำให้พระยาโบราณราชธานินทร์ จัดตั้งพิพิธภัณฑ์ เรียกว่า โบราณพิพิธภัณฑ์ โดยในระยะแรกนั้น ใช้ตึกโรงม้าพระที่นั่งเป็นที่เก็บรวมรวม ต่อมาเมื่อวันที่ 23 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2447 พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว จึงมีพระราชดำริโปรดเกล้าฯ ให้ย้ายวัตถุต่างๆ จากโรงม้าพระที่นั่งเข้ามาเก็บรักษา และตั้งแสดงที่บริเวณอาคารพลับพลาจตุรมุข พร้อมทั้งจัดสร้างระเบียงตามแนวอาคารด้านทิศเหนือและทิศตะวันออก เพื่อจัดตั้งวัตถุ ศิลาจารึก และประติมากรรมต่างๆ จากนั้นจึงตั้งชื่อว่า อยุธยาพิพิธภัณฑ์

ในปีพุทธศักราช 2451 พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้เสด็จประพาสยุโรป เมื่อเสด็จถึงเมืองฮอมเบิค ประเทศเยอรมนี ก็ทรงมีโทรเลขมาถึงสมเด็จฯ กรมพระยาดำรงราชานุภาพ ความว่า "มิวเซียมที่นี่เหมือนมิวเซียมที่กรุงเก่า" ด้วยเหตุนี้เอง อยุธยาพิพิธภัณฑ์ในขณะนั้น จึงเป็นที่รู้จักในบรรดาผู้สนใจและรักในงานด้านประวัติศาสตร์โบราณคดีของชาติ

ต่อมา ในวันที่ 12 กุมภาพันธ์ 2479 กรมศิลปากร ได้ประกาศให้อยุธยาพิพิธภัณฑ์เป็นพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ ในนาม พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ จันทรเกษม

การจัดแสดง..
ในปัจจุบันพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ จันทรเกษม ได้มีการจัดแสดงนิทรรศการถาวรภายในพระที่นั่งและอาคารต่างๆ ดังต่อไปนี้

1. พลับพลาจตุรมุข เป็นอาคารจัดแสดงหลังที่ 1 จัดแสดงเป็นห้องที่ระลึกพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 4 จัดแสดงเครื่องใช้ส่วนพระองค์ที่มีอยู่เดิมภายในพระราชวังแห่งนี้ ได้แก่ พระแท่นบรรทม พระราชอาสน์พร้อมเศวตฉัตร พระบรมฉายาลักษณ์ และเครื่องราชูปโภคต่างๆ ที่หาชมได้ยาก นอกจากนี้ ยังจัดแสดงเรื่องราวและรูปภาพประวัติความเป็นมาของพระราชวังจันทรเกษมไว้ด้วยเช่นกัน
2. พระที่นั่งพิมานรัตยา เป็นอาคารจัดแสดงหลังที่ 2 จัดแสดงศิลปโบราณวัตถุสมัยต่างๆ ที่เก็บรวบรวมโดยพระยาโบราณราชธานินทร์ ได้แก่ ประติมากรรมที่สลักจากศิลาเป็นเทวรูปและพระพุทธรูปนาคปรก ศิลปสมัยลพบุรี กลุ่มพระพุทธรูปสำริดสมัยอยุธยาที่พบจากพระอังสะพระมงคลบพิตร และพระพุทธรูปทรงเครื่องในสมัยอยุธยาตอนปลายที่มีความวิจิตรงดงาม รวมทั้งพระพิมพ์แบบต่างๆ ที่พบจากกรุวัดมหาธาตุและวัดราชบูรณะ นอกจากนี้ ยังมีเครื่องไม้แกะสลักฝีมือช่างอยุธยาตอนปลาย และรัตนโกสินทร์ตอนต้นที่ประณีตงดงามอีกหลายชิ้นจัดแสดงรวมอยู่ด้วย
3. อาคารที่ทำการภาค เป็นอาคารจัดแสดงหลังที่ 3 สร้างขึ้นในสมัยพระยาโบราณราชธานินทร์ เมื่อครั้งดำรงตำแหน่งสมุหเทศาบาลมณฑลกรุงเก่า มีลักษณะเป็นอาคารชั้นเดียว สร้างขนานไปกับแนวกำแพงด้านทิศตะวัตตกต่อกับทิศใต้ จัดนิทรรศการถาวร 5 เรื่อง คือ
3.1 ศิลปะสถาปัตยกรรมอยุธยา จัดแสดงศิลปโบราณวัตถุที่เป็นประติมากรรมที่ใช้ประดับศาสนสถาน และชิ้นส่วนสถาปัตยกรรมแบบต่างๆ อาทิเช่น ลวดลายปูนปั้น กระเบื้องมุงหลังคา ยอดนภศูล ใบเสมาและสถาปัตยกรรมจำลอง ได้แก่ สถูป เจดีย์ ปรางค์ เป็นต้น
3.2 เครื่องปั้นดินเผา สินค้านำเข้าและส่งออกที่สำคัญของอยุธยา จัดแสดงเครื่องปั้นดินเผา ทั้งแบบเคลือบและไม่เคลือบ ที่ผลิตจากที่ต่างๆ เพื่อส่งเป็นสินค้าออกของไทย และเครื่องถ้วยจากต่างประเทศ เช่น จีน เวียดนาม ญี่ปุ่น ที่เป็นสินค้านำเข้าที่สำคัญในสมัยอยุธยา การค้าเครื่องปั้นดินเผาหรือเครื่องถ้วยต่างๆ เหล่านี้ นับเป็นปัจจัยหนึ่งที่ทำให้อยุธยาเป็นศูนย์กลางทางการค้า และเป็นเมืองท่าที่สำคัญ โบราณวัตถุที่สำคัญภายในห้องนี้ได้แก่ โถน้ำมนต์ลายครามสมัยราชวงศ์หยวนของจีน อายุประมาณพุทธศตวรรษที่ 19 - 20
3.3 อาวุธยุทธภัณฑ์ จัดแสดงอาวุธสงครามสมัยอยุธยา - รัตนโกสินทร์ ได้แก่ ปืนใหญ่สมัยอยุธยา ลูกกระสุนปืนใหญ่ชนิดต่างๆ ปืนคาบศิลา ปืนก้องไพร ปืนใหญ่หลังช้าง และเครื่องใช้ของทหารอาสาไทยที่ไปร่วมรบในสงครามโลกครั้งที่ 1
3.4 ศิลปวัตถุพุทธบูชา จัดแสดงศิลปวัตถุที่สร้างขึ้นเพื่อเป็นพุทธบูชาในพระพุทธศาสนา อาทิเช่น รอยพระพุทธบาท ตาลปัตร ระฆัง ขันสาคร เครื่องใช้ประดับมุก เครื่องทองเหลือง และตู้พระธรรมสมัยอยุธยา - รัตนโกสินทร์ตอนต้น
3.5 วิถีชีวิตชาวกรุงเก่ากับสายน้ำ จัดแสดงศิลปะโบราณ อาทิเช่น โขนเรือม้า เก๋งเรือ เครื่องมือเครื่องใช้ในการดำรงชีพ ภาพวาดริ้วกระบวนพยุหยาตราทางชลมารคในสมัยอยุธยา ที่วาดโดยชาวตะวันตก และแบบจำลองสภาพชีวิตความเป็นอยู่ของผู้คนริมฝั่งน้ำในพระนครศรีอยุธยา เพื่อสะท้อนให้เห็นภาพชีวิตของชาวกรุงศรีอยุธยามีสายน้ำเป็นตัวกำหนด สภาพสังคม เศรษฐกิจ วิถีชีวิตตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน

พิพิธภัณฑ์ประวัติศาสตร์>>พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ หอศิลป



พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ หอศิลป

ประวัติ..
เนื่องจากการค้าขายกับประเทศทางตะวันตกมีมากขึ้นเงินพดด้วงที่ใช้มีปริมาณไม่พอ รัชกาลที่ 4 จึงโปรดเกล้าฯให้ซื้อเครื่องจักรทำเหรียญเงินมาติดตั้งที่โรงกษาปณ์สิทธิการในพระบรมมหาราชวังซึ่งต่อมาได้เลิกไป เมื่อถึงสมัยรัชกาลที่ 5 โปรดเกล้าฯ ให้สร้างขึ้นใหม่แทนของเดิม เมื่อทำการผลิตจนเครื่องจักรเสื่อมสภาพจึงย้ายไปตั้งที่ถนนปฏิพัทธิ์อาคารโรงกษาปณ์จึงว่างลง กรมศิลปากรได้ขอใช้อาคารนี้จากกรมธนารักษ์ทำการปรับปรุงเป็นหอศิลปะแห่งชาติในปี 2517


การจัดแสดง..
อาคาร เป็นสถาปัตยกรรมแบบประยุกต์ผสมผสานระหว่างศิลปะตะวันตกศิลปะไทย ถือเป็น “สถาปัตยกรรมตัวอย่างในสมัยรัชกาลที่ 5”


นิทรรศการถาวร
ผลงานที่จัดแสดงเป็นการรวบรวมงานศิลปะสมัยใหม่ของศิลปินไทยทีมีชื่อเสียงทั้งในอดีตและ ปัจจุบัน อาทิ เช่น ภาพฝีพระหัตถ์รัชกาลที่ 6 และพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวองค์ปัจจุบัน ภาพพระบฏ จิตรกรรมไทยประเพณี งานศิลปะร่วมสมัยตั้งแต่ยุคแรกจนถึงปัจจุบัน

นิทรรศการชั่วคราว
มีทั้ง ศิลปินไทยและจากต่างประเทศโดยมีการจัดแสดงหมุนเวียนสลับกับนิทรรศการประจำปีล้วนแต่เป็นผลงานที่ผ่านมาตรฐานการคัดเลือก ซึ่งมีทั้งงานจิตรกรรม ประติมากรรม ภาพพิมพ์และศิลปะการจัดวาง

ภายในมีห้องสมุด ร้านจำหน่ายหนังสือ โปสการ์ดและของที่ระลึก ส่วนผู้ที่สนใจเข้าฟังการบรรยาย อบรม สัมมนา และต้องการทราบปฏิทินงานแสดง สามารถจะสอบถามรายละเอียดได้ที่ฝ่ายบริการการศึกษาของพิพิธภัณฑ์


ที่ตั้ง..
ที่ตั้ง:ถ.เจ้าฟ้า แขวงชนะสงครามเขตพระนคร กรุงเทพฯ 10200
โทรศัพท์: (662) 282-2639 281-2224 1แฟกซ์: (662) 282-2640


การเดินทาง..
รถประจำทาง: 3 6 9 32 33 43 53 64 65
รถปรับอากาศ: 39 80 506
ท่าเรือ:เรือด่วนเจ้าพระยา: ท่าบางลำภู


การให้บริการ..
เวลาทำการ:พุทธ-อาทิตย์ 9.00-16.00 น.วันหยุดทำการ: จันทร์ อังคารวันนักขัตฤกษ์ค่าธรรมเนียม


ค่าเข้าชม..
ค่าเข้าชม:คนไทย 10 บาท .ชาวต่างชาติ 10 บาทนักเรียน นักศึกษา นักบวช ฟรี


ข้อห้าม..
ห้าม:ถ่ายภาพภายในอาคาร

พิพิธภัณฑ์ประวัติศาสตร์>>พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ ช้างต้น



พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ ช้างต้น

ประวัติ..
“ช้างเผือก” ในความเชื่อที่มีมาแต่โบราณของไทยถือว่าเป็นเครื่องเชิดชูเกียรติประดับบารมีของพระมหากษัตริย์เมื่อมีช้างเผือกเข้ามาสู่พระบารมีจะทรงโปรดเกล้าฯ ให้ทำพิธีสมโภชขึ้นระวาง พระราชทานนามเป็น “พระยาช้างต้นหรือนางพระยาช้างต้น” และให้ยืนโรงช้างประจำพระราชฐาน
เมื่อครั้งรัชกาลที่ ๕ โปรดเกล้าฯ ให้สร้างพระราชวังดุสิต ได้ปรากฏช้างเผือกเข้ามาสู่พระบารมี จึงทรงโปรดเกล้าฯให้สร้างโรงช้างต้นขึ้นในบริเวณพระราชวังดุสิต ซึ่งก็คือที่ตั้งของพิพิธภัณฑ์ในปัจจุบัน

การจัดแสดง..
อาคารที่ 1 จัดแสดงโบราณวัตถุ เช่น รูปปั้นช้างเผือกงาขนายช้างต้น เครื่องรางของขลังประจำตัวควาญช้าง ฯลฯ ภาพและบทความเกี่ยวกับช้าง เช่น การคล้องช้างในเพนียดกำเนิดช้างมงคล การจับช้าง ฯลฯ

อาคารที่ 2 จำลองพระราชพิธีสมโภชในการขึ้นระวางช้างเผือกซึ่งทรงเครื่องคชาภรณ์ และเครื่องประกอบในพิธี เช่น เครื่องพานพุ่มดอกไม้ศาลพระเทวกรรม พระชัยหลังช้าง ฯลฯ

ที่ตั้ง..
บริเวณรัฐสภา ถงอู่ทองใน แขวงดุสิต เขตดุสิต กรุงเทพฯ 10300
โทรศัพท์:(662) 282-3336
แฟกย์:(662) 282-3336

การเดินทาง..
รถประจำทาง:18 28 70 108
รถปรับอากาศ : 510 515

การให้บริการ..
เวลาทำการ: ทุกวัน 8:30 -16:30น.

ค่าเข้าชม..
ค่าธรรมเนียม ค่าเข้าชม: 5 บาท

บริการเพิ่มเติม..
มัคคุเทศก์: เข้าชมเป็นหมู่คณะ

พิพิธภัณฑ์ประวัติศาสตร์>>พิพิธภัณฑ์วังสวนผักกาด



พิพิธภัณฑ์วังสวนผักกาด

พิพิธภัณฑ์วังสวนผักกาดแห่งนี้ พลตรี พระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าจุมภฏพงษ์บริพัตรกรมหมื่นนครสวรรค์ศักดิพินิต หรือเสด็จในกรมฯ และ ม.ร.ว. พันธุ์ทิพย์ บริพัตร ชายาหรือคุณท่านทรงสะสมโบราณวัตถุ และศิลปะโบราณวัตถุมีค่าอันเป็นมรดกทางวัฒนธรรม และทรงคุณค่าทางประวัติศาสตร์ไว้เป็นจำนวนมาก เสด็จในกรมฯ พระองค์นี้ เป็นพระราชนัดดา (หลาน) ในพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ 5 และสมเด็จพระนางเจ้าสุขุมาล มารศรีพระอัครราชเทวี

หมู่ตำหนักไทยโบราณ 3 หลัง ที่อยู่ด้านหน้า เดิมเป็นของสมเด็จเจ้าพระยามหาพิชัยญาติ (ทัต บุนนาค) ซึ่งเป็นบิดาของท่านย่าทวดของเสด็จในกรมฯ ตำหนักไทยนี้มีความเก่าแก่กว่าร้อยปีมาแล้ว เดิมสร้างอยู่ใกล้วัดพิชัยญาติ ต่อมาเมื่อเป็นของจอมพลเรือ จอมพล สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้าบริพัติรสุขุมพันธุ์ กรมพระนครสวรรค์วรพินิต หรือทูลกระหม่อมบริพัตร พระบิดาของเสด็จในกรมฯ จึงทรงรื้อไปปลูกที่ตำบลอัมพวา จังหวัดสมุทรสงคราม ต่อมาได้รื้อไปปลูกอีกทีอำเภอบางกระสอ จังหวัดนนทบุรี

เมื่อเสด็จในกรมฯ โปรดให้รื้อตำหนักไทยมาปลูกที่สวนผักกาด ซึ่งมีเนื้อที่ประมาณ 6 ไร่ เดิมทีเนื้อที่บริเวณแห่งนี้ เคยเป็นสวนผักกาดของชาวจีนมาก่อน ต่อมาทั้งสองท่านได้ซื้อที่ดินผืนนี้จากชาวจีน เมื่อ พ.ศ. 2495 ราวตอนปลายสงครามเอเชียบูรพา พระองค์ทรงเริ่มสะสมและตกแต่งตำหนักไทยด้วยโบราณวัตถุที่ค้นพบในประเทศไทยและซื้อหามาจากประเทศอื่น

หลังจากที่เสด็จในกรมฯ สิ้นพระชนม์ลงเมื่อ พ.ศ. 2502 คุณท่านได้ดำเนินการทุกอย่างสืบต่อจากที่เสด็จในกรมฯ ทรงทำไว้ โดยเฉพาะการอนุรักษ์โบราณวัตถุ และศิลปะวัฒนธรรม ซึ่งต่อมาใน พ.ศ. 2511 คุณท่านได้อุทิศพิพิธภัณฑ์วังสวนผักกาดนี้ให้แก่ มูลนิธิจุมภฏ-พันธุ์ทิพย์

การจัดแสดง..
ปัจจุบันเรือนไทยทั้งหมดมีด้วยกัน 8 เรือน โดยเรือนไทยหลังที่ 1 ตั้งอยู่ด้านหน้าทิศเหนือ ขนานกับถนนศรีอยุธยา มีสะพานเชื่อมเรือนไทยหลังที่ 2,3 และ 4 ซึ่งอยู่ทางทิศใต้ตามลำดับ ส่วนเรือนไทยหลังที่ 5-8 ปลูกอยู่ห่างกันทางด้านตะวันตกของวัง และหอเขียนอยู่ถัดจากสนามหญ้าไปทางทิศใต้

เรือนไทยหลังที่ 1

ชั้นล่างของเรือนไทยหลังที่ 1 "พิพิธภัณฑ์ดนตรีทูลกระหม่อมบริพัตร" จักแสดงเครื่องดนตรีไทยของ " ทูลกระหม่อมบริพัตร" พระบิดาของเสด็จในกรมฯ ซึ่งได้แก่ ซอสามสาย ระนาดเอก ฆ้อง กลองโบราณ จะเข้ ฯลฯ ซึ่งจะมีลายละเอียดต่างๆ อยู่ภายในห้อง

ชั้นบนบริเวณระเบียงทางทิศเหนือ มีบานประตูโบสถ์ไม้สักแกะสลักเรื่องสังข์ทอง อายุราวสมัยรัตนโกสินทร์ (ราวปลายพุทธศตวรรษที่ 24) ด้านข้างประตูมีซุ้มเรือนแก้ว แกะสลักลายไทยปิดทอง มีช่องเล็กๆ สำหรับบรรจุพระเครื่องมีอายุราวพุทธศตวรรษที่ 22 ส่วนบนประตูและหน้าต่างมี ภาพไม้แกะสลักสมัยอยุธยาตอนปลาย(ราวพุทธศตวรรษที่ 21-22) จากซ้ายไปขวา มีภาพเกี่ยวกับพุทธศาสนา จากประเทศอินเดียไปสู่ตะวันออก โดยมีผู้ศรัทธาในพุทธศาสนานำเจดีย์จากประเทศอินเดีย พร้อมด้วยภาพแกะสลักพระเจ้า 9 พระองค์ และพระนารายณ์ 4 กร เหนือภาพแกะสลักมีหน้าบันทึกภาพพุทธประวัติบนบุษบก เหนือแม่น้ำเนรัญชรา

ภายในห้องด้านตะวันตก มีปราสาทเจ้าลอง ทำด้วยไม้แกะสลักลงรักติดกระจก ภายในประดิษฐานพระพุทธรูปจาก 3 ประเทศ องค์แรกทางซ้ายเป็นพระพุทธรูปสมัยอู่ทอง (อายุราวพุทธศตวรรษที่ 18-19) องค์กลางเป็นพระพุทธรูปจากประเทศอินเดีย ศิลปะคันธาราฐ (อายุราวพุทธศตวรรษที่ 7-8) และพระพุทธรูปทางขวาได้มาจากประเทศพม่า อายุราวต้นสมัยรัตนโกสินทร์ ถัดมามีแจกันจากประเทศจีน สมัยราชวงศ์หมิงและชิง

บนฝาผนังรอบห้องมีอาวุธโบราณสมัยอยุธยา มุมห้องทั้งสี่มีอาวุธที่ใช้ในการรบบนหลังช้าง ในการทำยุทธหัตถี บนตู้ไม้แกะสลักทางด้านเหนือของห้อง มีเศียรเทวรูปสมัยสุโขทัย (ราวพุทธศตวรรษที่ 19-20) พบที่จังหวัดกำแพงเพชร มีตู้ไม้ซึ่งอยู่ชั้นบนแสดงเครื่องราชอิสริยาภรณ์สมัยรัชกาลที่ 2-4 เหรียญเงินสมัยรัชกาลที่ 5-9 และเหรียญที่ระลึกของอังกฤษและอเมริกา ชั้นล่างของตู้มีเครื่องราชอิสริยาภรณ์ทั้งไทยและต่างประเทศ


ในห้องถัดมาจัดแสดงเทวรูปศิลปะขอม โดยเทวรูปที่ตั้งอยู่กลางห้องเป็นเทวรูปของพระศิวะ (ด้านขวา) และพระอุมา (ด้านซ้าย) ซึ่งทั้ง 2 องค์รวมอยู่ในร่างเดียวกัน เรียกว่า "อรรธนารีศวร" จัดเป็นศิลปะขอมแบบบายน (อายุราวพุทธศตวรรษที่ 17-18) ที่สำคัญตรงมุมด้านซ้ายของห้องเทวรูปของพระนางอุมา (อายุราวพุทธศตวรรษที่ 12) ซึ่งคุณท่านได้มาจาก อำเภออรัญประเทศ จังหวัดปราจีนบุรี (ปัจจุบันอยู่ในจังหวัดสระแก้ว) นับเป็นปฏิมากรรมแกะสลักจากหินทราย ศิลปะขอมที่สวยงาม และหาชมได้ยาก ด้านบนฝาผนังมีภาพพระบฎแสดงการเสด็จกลับลงมาจากสวรรค์ชั้นดาวดึงส์ของพระพุทธเจ้า สมัยต้นรัตนโกสินทร์

เรือนไทยหลังที่ 2

จากเรือนไทยหลังที่ 1 จะมีสะพานเชื่อมติดต่อถึงเรือนไทยหลังที่ 2 -4 ซึ่งจัดรวมเป็นหมู่เรือนไทย บนหน้าบันของระเบียงมีตราประจำพระองค์เป็นรูปช้างสามเศียร ของสมเด็จพระนางเจ้าสุขุ มาลมารศรี พระอัครราชเทวีในรัชกาลที่ 5 ซึ่งเป็นสมเด็จพระอัยกี (ย่า) ของเสด็จในกรมฯ
ด้านหน้าของระเบียงทางเดินมีฉาก (ลับแล) ซึ่งด้านหน้ามีภาพเขียนสีแสดงป่าหิมพานต์ และด้านหลังเป็นเรื่องพระเวชสันดรชาดก
ถัดมาทางด้านขวาจะเป็นบริเวณชานเรือนหลังที่ 2 มีตู้พระธรรมลายรดน้ำ สมัยอยุธยาซึ่งได้มาจากวัดบ้านกลิ้ง จังหวัดอยุธยาพร้อมกับหอเขียน มีสัปคับหรือกูบ (ที่นั่งบนหลังช้าง) และงาช้างคู่ ซึ่งได้รับทูลเกล้าจากเจ้าน่าน บนฝาผนังจัดแสดงตาลปัตรราชสกุลบริพัตร และตาลปัตรที่ทำขึ้นเป็นที่รำลึกในพระราชพิธีต่างๆ
เรือนไทยหลังที่ 2 จัดตกแต่งเป็นเรือนรับรอง ภายในห้องด้านเหนือมีเตียง หมอนขวาน บนเตียงมีฉลองพระองค์ครุยของเจ้านายชายและผ้ากรองทองสำหรับเจ้านายหญิง เมื่อมีการแต่งองค์เต็มยศตามแบบโบราณ
มุมห้องด้านใต้ข้างประตู มีคันฉ่องซึ่งมีกรอบไม้แกะสลักลายไทย จีน และฝรั่งเศส ปิดทองด้านหน้าคันฉ่องมีหงส์ 1 คู่ ประดับไฟ 2 ดวงหน้าหงส์
ถัดมาทางทิศใต้ของห้องบนตู้มีพานประดับมุกซ้อนกัน 4 ใบ ภายในตู้ชั้นบนมีตลับงาช้าง สำหรับใส่สีผึ้งและแป้ง มีงาช้างแกะสลักลายไทยปิดทอง ถัดมาทิศตะวันตก มีตู้แกะสลักลายไทยปิดทอง ภายในชั้นบนของตู้มีถ้วยเงินลายทอง ชั้นกลางและชั้นล่างมีเครื่องแก้วเจียระไนจากยุโรปส่วนด้านหลังตู้มีตะลุ่มประดับมุก
ด้านเหนือของห้อง มีตะลุ่มประดับมุกวางอยู่บนตู้สลักลายไทยปิดทอง ในตู้ชั้นบนมีพระรูปของเสด็จในกรมฯ พระบรมรูปแกะสลักจากงาช้างของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 5 และพระรูปของ หม่อมเจ้าหญิงมารศีสุขุมพันธุ์ บริพัตร ชั้นล่างมีปั้นกาน้ำ ตระกร้าหญ้าลิเภา และจานหมูที่สมเด็จพระศรีนคริ นทราบรมราชชนนีพระราชทานไว้ ตู้ชั้นล่างมีปิ่นโตเงินลงยาลายนูนจากประเทศจีน กระโถนเครื่องถมและกระโถนเบญจรงค์ริมประตูด้านตะวันออกมีพระฉายแขวน (กระจกส่องหน้า) และตู้เก็บเครื่องแก้วเจียระไนรวมทั้งขวดน้ำหอม ซึ่งนำมาจากประเทศต่างๆ ในยุโรป
ชั้นล่างของเรือนไทยหลังที่ 2 มีตัวอย่างหินสวยงาม แปลกตา ที่คุณท่านได้รวบรวมไว้ทั้งที่พบได้ในประเทศไทยและต่างประเทศ โดยจัดแสดงไว้ในห้อง "ถ้ำอาลีบาบา"

เรือนไทยหลังที่ 3
ชานเรือนหลังที่ 3 มีตู้พระธรรมลายรดน้ำ สมัยต้นรัตนโกสินทร์ บนหลังตู้มีเศียรพระพุทธรูปสมัยอยุธยา ด้านหน้าตู้มีใบเสมาสลักจากหินทราย บนฝาผนังแขวนตาลปัตรและโคมไม้แกะสลักลายไทยปิดทองและข้างประตูเข้าเรือนมีกลองมโหระทึก ซึ่งใช้ในพิธีต่างๆ เช่น ในพิธีขอฝน

นอกจากนี้ยังมีรูปจำลองวัดพระศรีรัตนศาสดาราม (วัดพระแก้ว) ซึ่งมีรูปปั้นสิงห์ อันเป็นฝีพระหัตถ์ของเสด็จในกรมฯ อยู่ด้านหน้าและด้านหลังของรูปจำลอง
เรือนไทยหลังที่ 3 ตกแต่งเป็นที่รับรอง ด้านขวาของห้องมีตั่งซึ่งใช้รับรองแขก ด้านซ้ายใกล้ประตูมีตู้เล็กแสดงวัตถุโบราณศิลปะกรีก-โรมัน ถัดมามีตู้ใส่ภาชนะเบญจรงค์ ด้านบนฝาผนัง เหนือตู้มีภาพเขียนสีเรื่องรามเกียรติ์ สมัยต้นรัตน์โกสินทร์ในรัชกาลที่ 2 ถัดไปเป็นตั่งแกะสลักลายไทยปิดทอง ด้านบนมีเสลี่ยงซึ่งสำหรับพระบรมวงศานุวงศ์ พนักพิงและราวทำด้วยงาช้างแกะสลักมีกลดตั้งอยู่ด้านหลังของเสลี่ยงและต้นไม้เงิน-ตันไม้ทอง ซึ่งพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 9 พระราชทานแก่สมเด็จย่าของเสด็จในกรมฯ เนื่องในวันคล้ายวันประสูติครบ 84 ปี

บนฝาผนังห้องรอบประตูมีภาพวาดที่ตัดจากหนังสือพิมพ์ยุโรป ภาพบนเหนือประตูเป็นภาพพระนครศรีอยุธยา และภาพล่างเป็นภาพพระพุทธรูปต่างๆ สมัยอยุธยา ภาพราชฑูตฝรั่งเศส ซึ่งราชฑูตชาวฝรั่งเศสนับเป็นชาติแรกที่เข้ามาเจริญสัมพันธไมตรีสมัยพระนารายณ์มหาราช ส่วนด้านข้างประตูภาพบนเป็นภาพเขียนพระบรมสาทิสลักษณ์ของพระบาทสมเด็จพระนารายณ์มหาราช ฉลองเครื่องทรงเป็นแบบชาวยุโรปพระวรกายมีสีดำ ภาพด้านขวาเป็นพระบรมสาทิสลักษณ์ของสมเด็จพระราชีนี เข้าใจว่าสองภาพนี้ ช่างภาพชาวฝรั่งเศสคงเขียนขึ้นจากจินตนาการก่อนที่จะเดินทางมายังประเทศไทย

เรือนไทยหลังที่ 4
ระเบียงเชื่อมระหว่างเรือนไทยหลังที่ 2 และหลังที่ 3 เปิดตลอดไปจนจรดทิศใต้ ใกล้บันได ด้านตะวันตกมีหิ้งพระวางพุทธรูปบูชา ด้านติดกันเรือนไทยหลังที่ 3 มีคันฉ่องขนาดเล็ก ถัดไปเป็นตู้พระธรรมลายรดน้ำ สมัยรัตนโกสินทร์
เรือนไทยหลังที่ 4 นอกจากจะเป็นห้องพระแล้ว บริเวณหน้าห้อง มีพื้นเรือนที่ยกสูงตรงกลาง ซึ่งสามารถดัดแปลงเป็นโต๊ะอาหารสำหรับเลี้ยงแขกพิเศษในโอกาสต่างๆ และชานเรือนทางทิศใต้มีภาพเขียนสีบนไม้เรื่อง พระเวสสันดรชาดก

เรือนไทยหลังที่ 5
เรือนไทยหลังที่ 5 เป็นเรือนไทยที่ได้สร้างขึ้นมาใหม่ ตั้งอยู่ทางทิศตะวันตกของวัง ขนานกับถนนศรีอยุธยา ซึ่งใช้จัดแสดงของใช้ประจำพระองค์ของทูลกระหม่อมบริพัตรและเสด็จในกรมฯ อาทิ เครื่องแก้วเจียระไน เครื่องแก้วลายทอง เครื่องเงิน เครื่องกระเบื้อง เป็นต้น ส่วนใหญ่นำมาจากประเทศต่างๆ ในยุโรป นอกจากนี้ยังมีเหรียญกษาปณ์สมัยต่างๆ ทั้งของไทยและต่างประเทศ
เรือนไทยหลังที่ 6

เรือนไทยหลังนี้ ส่วนใหญ่จัดแสดงเครื่องถ้วยชามสังคโลก ศิลปะสุโขทัย ซึ่งมีอายุประมาณ 600-700 ปี รวมทั้งเครื่องถ้วยชาม สมัยซ้ง หยวน และหมิง ของประเทศจีน
ภายนอกมีตู้แสดงภาชนะดินเผาสังคโลกจากกลุ่มเตาเวียงกาหลง จังหวัดเชียงราย ขวานหินโบราณและเครื่องประดับ สมัยยุคหิน และเครื่องปั้นดินเผา ซึ่งได้จากจังหวัดกาญจนบุรี
ภายในมุมห้องด้านซ้ายแสดงหินสลักรูปหัวงู ศิลปะขอม ถัดไปมีภาชนะดินเผาสังคโลก และตุ๊กตาสมัยสุโขทัย ที่ยังมีสภาพสมบูรณ์ สวยงามมากและเหยือกรูปคนขี่ช้างทรงอยู่สมัยสุโขทัยมุมห้องด้านตะวันตก มีรูปเทวดาสตรีสมัยศรีวิชัย (อายุราวพุทธศตวรรษที่ 14-15) ทำด้วยหินทราย ได้มาจากดงศรีมหาโพธิ์ จังหวัดปราจีนบุรี มีไหหรงสูงได้จากทะเล และมีภาพเขียนเรื่องจันทรโครพ มีอายุราวสมัยรัตนโกสินทร์อยู่บนฝาผนังด้านตะวันออก
เรือนไทยหลังที่ 7

พิพิธภัณฑ์โขน จัดแสดงหัวโขนต่างๆ จากเรื่องรามเกียรติ์ ซึ่งมีขนาดเท่าของจริง อาทิพระราม พระลักษณ์ ทศกัณฐ์ หนุมาน พาลี ฯลฯ รวมทั้งรายละเอียดของเครื่องแต่งกายและขั้นตอนการทำหัวโขน

นอกจากนี้ยังมีหุ่นละครเล็กพระรามกับนางสีดาและทศกัณฑ์กับหนุมานของนายสาคร ยังเขียวสด ศิลปินแห่งชาติปี 2539 สาขาศิลปะการแสดง ซึ่งจะจัดแสดงอยู่ภายในห้องด้วย

เรือนไทยหลังที่ 8

เดิมเรือนหลังนี้ คุณท่านใช้แสดงภาพเขียน ซึ่งต่อมาได้มอบให้แก่หอศิลป์พีระศรีไป คุณท่านจึงจัดชั้นบนเป็นที่แสดงวัตถุโบราณบ้านเชียง ซึ่งจัดอยู่ในสมัยก่อนประวัติศาสตร์ โดยค้นพบที่จังหวัดอุดรธานีเมื่อปี พ.ศ. 2509 และวัตถุโบราณบ้านเชียงเหล่านี้ คุณท่านสะสมไว้ เริ่มแรกตั้งแต่มีการขุดค้นพบ นับเป็นมรดกทางวัฒนธรรมที่แสดงถึงพัฒนาการทางสังคมและความเจริญของชุมชนในหมู่บ้าน ซึ่งมีอายุประมาณ 1,800-5,600 ปี มีภาชนะดินเผาที่มีเอกลักษณ์ในการเขียนสีแดงแบบแปลกๆ รวมทั้งภาชนะดินเผาที่ไม่มีลายเขียนสีและที่เขียนสีบางส่วน ซึ่งมีอายุเก่าแก่กว่าภาชนะดินเผาเขียนสีทั้งลูก

นอกจากนี้ยังมีวัตถุโบราณที่ใช้เป็นเครื่องประดับ เช่น สร้อยลูกปัด มีลูกกลิ้งดินเผาที่ใช้พิมพ์ลวดลายไปบนผ้า และแม่พิมพ์ที่ใช้ในการทำอาวุธ รวมทั้งวัตถุโบราณที่ทำมาจากสำริดอื่นๆ เช่น หัวขวาน หัวธนู กำไลแขน คอ และแหวน ซึ่งบางชิ้นยังมีกระดูกมนุษย์ติดอยู่ จึงทำให้วัตถุโบราณบ้านเชียงนับเป็นสมบัติทางวัฒนธรรมที่สำคัญแห่งหนึ่งของอารยธรรมโลก
ชั้นล่างของเรือนบ้านเชียง ได้จัดแสดงตัวอย่างหินและเปลือกหอย ทั้งในประเทศไทยและต่างประเทศ ห้องทางด้านซ้ายจัดแสดงหินภูเขาไฟ ซึ่งได้มาจากอำเภอลำนารายณ์ จังหวัดลพบุรี และบางจังหวัดทางภาคเหนือ ห้องทางด้านขวาจัดแสดงซากสัตว์โบราณขนาดเล็กที่อยู่ในหินฟอสซิล รวมทั้งไม้กลายเป็นหิน ส่วนหอยได้มาจากต่างประเทศ
หอเขียน
หอเขียนอยู่ทางทิศใต้สุดของวังสวนผักกาด ด้านหน้ามีสนามหญ้าและมีสวนอันสวยงาม หอเขียนหลังนี้เดิมเป็นตำหนักของเจ้านายที่ปลูกอยู่ที่จังหวัดพระนครศรีอยุธยา สร้างขึ้นสมัยพระนารายณ์ (ราวพุทธศตวรรษที่ 22-23)

หอเขียนนี้มีลักษณะเป็นเรือนไทยภายนอกมีภาพแกะสลักซึ่งชำรุดลบเลือนไป เนื่องจากถูกแสงแดด ลม และฝนเป็นเวลานาน ส่วนชั้นในนั้น ลวดลายและช่องหน้าต่างเป็นศิลปะยุโรป ภาพลายรดน้ำส่วนบนเป็นเรื่องพุทธประวัติ ส่วนล่างเป็นเรื่องรามเกียรติ์และเรื่องราวที่บันทึกในสมัยกรุงศรีอยุธยา สมัยพระนารายณ์มหาราช และสมเด็จพระเจ้าหลุยส์ที่ 14 ของฝรั่งเศส ได้ส่งทูลเข้ามาเจริญสัมพันธ์ไมตรีกับไทย ตามด้วยราชทูตชาวฮอลันดา ภาพที่เขียนเต็มไปด้วยธรรมชาติที่เคลื่อนไหวไม่หยุดนิ่งและมีชีวิตชีวา ช่างเขียนได้บันทึกความสวยงามของธรรมชาติไว้ด้วยภาพ ภูเขา ลำธาร และภาพขนบธรรมเนียมในราชสำนักในสมัยนั้น ตลอดจนการตกแต่งรั้ววังและยังมีภาพเมรุถวายพระเพลิงพระบรมศพพระพุทธเจ้า ซึ่งนับว่าเป็นภาพที่มีค่ายิ่งทางสถาปัตยกรรมไทย


การให้บริการ..
พิพิธภัณฑ์วังสวนผักกาด ไม่เว้นวันหยุดราชการ ตั้งแต่ 9.00-16.00 น.

สนใจข้อมูลเพิ่มเติมติดต่อพิพิธภัณฑ์วังสวนผักกาด 352-354 ถนนศรีอยุธยา เขตราชเทวี กรุงเทพฯ 10400.
โทรศัพท์ : 0-2245-4934, 0-2246-1775-63 ต่อ 62 หรือ 63
โทรสาร : 0-2247-2079, 0-2245-0569อีเมล์ : cpfoffl@ksc.th.com
หรือ www.suanpakkad.com

วันพฤหัสบดีที่ 14 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2551

พิพิธภัณฑ์ทั่วไป>>พิพิธภัณฑ์ภาพมุมกว้าง กรุงเทพมหานคร



พิพิธภัณฑ์ภาพมุมกว้าง กรุงเทพมหานคร


การก่อตั้ง..
พิพิธภัณฑ์ภาพมุมกว้าง กรุงเทพมหานคร ได้ก่อตั้งขึ้น จากความคิดริเริ่มเพื่อจะถ่ายทอดประสบการณ์ อันทรงคุณค่าที่บรรพบุรุษชาติ ได้สร้างสรรค์ไว้อย่างงดงาม ให้กับเยาวชนรุ่นหลังที่กำลังอยู่ในยุครับอารยธรรมตะวันตก ได้เกิดความภาคภูมิใจที่สุดที่ถือกำเนิดในประเทศสยาม ด้วยเรามีวัฒนธรรมประเพณี และพระมหากษัตริย์ทรงพระอัจฉริยะภาพในการปกครองยึดเอกลักษณ์ศิลปวัฒนธรรมประจำชาติเป็นหลัก


เมื่อพินิจพิจารณาภาพถ่ายโบราณ อันเป็นที่มาของชื่อ พิพิธภัณฑ์ภาพมุมกว้าง กรุงเทพมหานคร ฝีมือช่างภาพคนไทย ประจำพระราชวังของพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ถ่ายไว้ ราวปีพุทธศักราช ๒๔๐๗ ซึ่งปัจจุบันได้ต่อให้เป็นภาพเดียวและขยายให้เห็นรายละเอียดอย่างชัดเจน จัดแสดง ณ พิพิธภัณฑ์ฯ ทำให้เราทราบว่าบ้านเมืองของเรา ช่างสวยสดงดงาม เมื่อเข้าชมเราไม่อาจจะละสายตาจากภาพเบื้องหน้า ดังถูกสะกดจิตให้ย้อนนึกถึงอดีตกรุงเทพมหานคร อันรุ่งเรือง


เมื่อได้ดำเนินนิทรรศการต่อเนื่องมาตั้งแต่ ๒๕๔๔ – ๒๕๔๕ ได้รับความสนใจให้เสนอโครงการจัดตั้งพิพิธภัณฑ์ภาพมุมกว้าง กรุงเทพมหานคร อาคารสีลมแกเลอเรีย อนุเคราะห์พื้นที่จัดตั้ง
พิพิธภัณฑ์ฯ ในราคาเพื่อหน่วยงานที่ทำประโยชน์ต่อสังคม เริ่มก่อสร้างพิพิธภัณฑ์ฯ ตั้งแต่เดือนพฤศจิกายน ๒๕๔๕


การให้บริการ..
เปิดให้เข้าชมตั้งแต่เวลา ๑๐.๐๐น. – ๑๗.๐๐ น. ทุกวันจันทร์ ถึงศุกร์ . ไม่เสียค่าเข้าชม รับบรรยายเป็นหมู่คณะ


ที่ตั้ง..
ที่ตั้ง เลขที่ ๑๙๑/๑ อาคารสีลมแกเลอเรียชั้น ๔ ถนนสีลม บางรัก กรุงเทพฯ ๑๐๕๐๐ โทรศัพท์/โทรสาร ๐๒-๒๓๕-๔๓๑๑


ติดต่อเพิ่มเติม..
สำหรับนักเรียนนักศึกษาที่ต้องการบันทึกภาพในพิพิธภัณฑ์ หรือสนใจประวัติช่างภาพเพื่อทำรายงาน ติดตามรายละเอียดได้ในWebboard ของ พิพิธภัณฑ์


แผนที่..






พิพิธภัณฑ์ทั่วไป>>พิพิธภัณฑ์ราชทัณฑ์



พิพิธภัณฑ์ราชทัณฑ์


พิพิธภัณฑ์ราชทัณฑ์ อยู่ด้านถนนมหาไชยประกอบด้วยอาคาร 4 หลังคือ

ตึกศาลอาญา ตึกรักษาการณ์ ตึกร้านค้ากรมราชทัณฑ์และอาคารแดน 9 ภายในจัดแสดงเครื่องมือลงฑัณฑ์และวิวัฒนาการของการราชทัณฑ์ไทย

การจัดแสดง..

อาคารศาลอาญา แสดงเครื่องมือลงทัณฑ์ และวิธีประหารชีวิตสมัยโบราณ รวมทั้งแสดงการประหารชีวิตในปัจจุบัน อุปกรณ์เกี่ยวกับเรือนจำและการหลบหนีของนักโทษ
อาคารรักษาการณ์ แสดงภาพประวัติและอุปกรณ์เครื่องใช้ของเรือนจำพิเศษกรุงเทพมหานคร และเอกสารเกี่ยวกับประวัติการราชทัณฑ์ในอดีต
อาคารร้านค้ากรมราชทัณฑ์ จัดจำหน่ายสินค้าราชทัณฑ์และของที่ระลึก
อาคารแดน 9 เป็นเรือนนอนผู้ต้องขังในอดีต แสดงสภาพการใช้ชีวิตประจำวันของนักโทษ ระบบการคุมขังและลักษณะอาคารตามแบบตะวันตก

พิพิธภัณฑ์ราชทัณฑ์ จัดตั้งขึ้นเมื่อ พ.ศ. 2482 รวบรวมวัตถุเกี่ยวกับการลงโทษและวัตถุโบราณจากเรือนจำต่างๆ ทั่วประเทศ จัดแสดงที่เรือนจำกลางบางขวาง เมื่อมีการจัดตั้งศูนย์ฝึกอบรมข้าราชการราชทัณฑ์ บริเวณตรงข้ามเรือนจำกลางบางขวาง จึงได้ขนย้ายมาจัดแสดงที่อาคารศูนย์ฝีกอบรมข้าราชการราชทัณฑ์เมื่อ พ.ศ. 2515 และย้ายมาจัดแสดงที่สวนรมณีนาถเมื่อวันที่ พ.ศ. 2542 พร้อมกับการเปิดสวนสาธารณะ

ที่ตั้ง..

ตั่งอยู่ที่ถนนมหาไชย บริเวณเรือนจำพิเศษกรุงเทพฯเดิม โดยคงสภาพของอาคารหลังเก่าและเรือนจำเดิม


พิพิธภัณฑ์ทั่วไป>>พิพิธภัณฑ์กีฬาแห่งชาติ



พิพิธภัณฑ์กีฬาแห่งชาติ

พิพิธภัณฑ์กีฬาแห่งชาติ National Sports Museumมีพื้นที่จัดแสดงและใช้ประโยชน์อื่นๆ ประมาณ 2,500 ตารางเมตร เปิดบริการเป็นทางการตั้งแต่ วันที่ 30 พฤษภาคม พ.ศ. 2544

วัตถุประสงค์


1. เพื่อเป็นการเผยแพร่ชื่อเสียง และเกียรติคุณของนักกีฬาและ ผู้ทำคุณประโยชน์แก่วงการ กีฬาไทย


2. เพื่อส่งเสริมและกระตุ้นให้เด็ก เยาวชน และประชาชน ได้ตระหนักถึงความสำคัญ และความเป็นมาของการกีฬา ทั้งระดับสากลและของชาติไทย


3. เพื่อเป็นการอนุรักษ์มรดกทางการกีฬาของประเทศชาติ
ระเบียบการเยี่ยมชมพิพิธภัณฑ์กีฬาแห่งชาติ
ให้ผู้ชมเข้าชมได้ตามอัธยาศัย หากผู้มาชมเป็นหมู่คณะ จะจัดเจ้าหน้าที่นำชมไปพร้อมกันทั้งคณะ แต่โปรดแจ้งให้งานพิพิธภัณฑ์กีฬาทราบล่วงหน้า


ข้อห้ามเฉพาะภายในพิพิธภัณฑ์กีฬาแห่งชาติ


1. ห้ามถ่ายภาพ


2. ห้ามนำสัตว์เลี้ยงเข้า


3. ห้ามนำอาหารหรือเครื่องดื่มเข้า


4. ห้ามส่งเสียงหรือกระทำการรบกวนผู้อื่น
การนำเสนอแบ่งส่วนการจัดสิ่งแสดงและเผยแพร่ ออกเป็น 9 ห้อง จัดแสดงในรูปแบบของนิทรรศการถาวรประกอบด้วย


1. โถงต้อนรับ


- ตราพระราชพิธีรัชมังคลาภิเษก


- แผ่นศิลาชื่อพระราชทาน "ราชมังคลากีฬาสถาน"- ที่นั่งชมวิดีทัศน์


- เคาน์เตอร์บริการผู้ชม


- คอมพิวเตอร์เผยแพร่ข้อมูล ระบบสัมผัสจอภาพ



2. ห้องวิวัฒนาการกีฬาสากลของไทย


- ผนังจำลองด้านหน้าสนามศุภชลาศัย


- ตู้แสดงเอกสารต้นฉบับเพลงกราวกีฬา


- แผ่นกระจกสลักเพลงกราวกีฬา และคำแปลภาษาอังกฤษ


- แผ่นกระจกสลักเพลงโอ...เอเชี่ยนเกมส์


- รูปจำลองสนามราชมังคลากีฬาสถาน


- ภาพสนามศุภชลาศัย สนามกีฬาแห่งชาติ


- ภาพสนามกีฬาสมโภชเมืองเชียงใหม่ 700 ปี


- ภาพอาคารอินดอร์สเตเดียม หัวหมาก


- บอร์ดแสดงบทนำวิวัฒนาการกีฬาของไทย


- บอร์ดแสดงประวัติความเป็นมาของกีฬาสากลชนิดต่างๆ รวม 18 รายการ


- คอมพิวเตอร์เผยแพร่ข้อมูล ระบบสัมผัสจอภาพ



3. ห้ององค์กรกีฬา


- เสาหลักกีฬาของไทย


- บอร์ดแสดงกิจกรรมกีฬาของกรมพลศึกษา


- บอร์ดแสดงกิจกรรมกีฬาของคณะกรรมการโอลิมปิค แห่งประเทศไทยในพระบรมราชูปถัมภ์


- คอมพิวเตอร์เผยแพร่ข้อมูล ระบบสัมผัสจอภาพ



4. หอเกียรติยศนักกีฬา


- โผน กิ่งเพชร และบอร์ดแสดงประวัติรูปจำลอง


- บอร์ดแสดงประวัตินักกีฬาเกียรติยศ รวม 19 คน


- สุทธิ มัณยากาศ นักกีฬากรีฑา


- อภิเดช ศิษย์หิรัญ นักกีฬามวยไทยอาชีพ


- ชาติชาย เชี่ยวน้อย นักกีฬามวยสากลอาชีพ


-เจริญ วรรธนสิน นักกีฬาแบดมินตัน


- อาณัติ รัตนพล นักกีฬากรีฑา


- ปรีดา จุลละมณฑล นักกีฬาจักรยาน


- รัชนีวรรณ บูลกุล นักกีฬาว่ายน้ำ


- พเยาว์ พูนธรัตน์ นักกีฬามวยสากลสมัครเล่น


- สุชาติ แจสุรภาพ นักกีฬากรีฑา


- ทวี อัมพรมหา นักกีฬามวยสากลสมัครเล่น


- สกุล คำตัน นักกีฬาคนพิการประเภทพุ่งแหลน


- ผจญ มูลสัน นักกีฬามวยสากลสมัครเล่น


- รัฐพงศ์ ศิริสานนท์ นักกีฬาว่ายน้ำ


- อาคม เฉ่งไล่ นักกีฬามวยสากลสมัครเล่น


- สุระ แสนคำ (เขาทราย แกแล็คซี่) นักกีฬามวยสากลอาชีพ


- วัฒนา ภู่โอบอ้อม นักกีฬาสนุกเกอร์อาชีพ


- สมรักษ์ คำสิงห์ นักกีฬามวยสากลสมัครเล่น


- คอมพิวเตอร์เผยแพร่ข้อมูล ระบบสัมผัสจอภาพ


5. ห้องสมาคมกีฬาและกีฬาพื้นบ้านไทย



บอร์ดแสดงประวัติสมาคมกีฬา มี 36 สมาคม

1. กรีฑา
2. กอล์ฟ
3. กาบัดดี้
4. กีฬาคนพิการ
5. ขี่ม้า
6. เรือใบ
7. จักรยาน
8. ซอฟท์บอล
9. ตะกร้อ
10. เทควันโด
11. เทเบิลเทนนิส
12. บาสเกตบอล


13. เบสบอล
14. แบดมินตัน
15. โบว์ลิ่ง
16. ฟันดาบ
17. ฟุตบอล
18. มวยไทย
19. มวยปล้ำ
20. มวยสากล
21. ยกน้ำหนัก
22. ยิงธนู
23. ยิงปืน
24. ยิมนาสติก


25. ยูโด
26. รักบี้ฟุตบอล
27. เรือพาย
28. ลอนเทนนิส
29. วอลเล่ย์บอล
30. ว่ายน้ำ
31. สนุกเกอร์
32. คาราเต้ - โด
33. เปตอง
34. วูซู
35. ฮอกกี้
36. แฮนด์บอล


บอร์ดแสดงกีฬาพื้นบ้านไทย ได้แก่


1. กระบี่กระบอง


2. แข่งเรือ


3. ว่าวไทย


4. ดาบไทย


5. ตะกร้อ


6. ขี่ม้าส่งเมือง


7. หมากรุกไทย


8. มวยไทย



6. ห้องกิตติคุณ


- ภาพบุคคลผู้ทำประโยชน์แก่วงการกีฬาของไทย ที่คัดเลือกเบื้องต้น ได้แก่องค์อุปถัมภ์กิจกรรมกีฬาของชาติ


เจ้าพระยาธรรมศักดิ์มนตรี : ผู้ประพันธ์เพลงกราวกีฬา


หลวงศุภชลาศัย : อธิบดีกรมพลศึกษา


พระยาจินดารักษ์ : ประธานคณะกรรมการโอลิมปิกแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์คนแรก


หลวงสุขุมนัยประดิษฐ์ : ผู้ก่อตั้ง อ.ส.ก.ท. (กกท.) และริเริ่มการแข่งขันกีฬาแหลมทอง (ซีเกมส์)


นายกอง วิสุทธารมณ์ : ผู้ริเริ่มการแข่งขันกีฬาเขตฯ (กีฬาแห่งชาติ)


หลวงชาติตระกาลโกศล : ผู้นำการจัดตั้งสนามกีฬาในภูมิภาค


พลอากาศเอกทวี จุลละทรัพย์ : กรรมการโอลิมปิกสากลในประเทศไทย คนแรก


นายแพทย์อวย เกตุสิงห์ : บิดาแห่งกีฬาเวชศาตร์ในประเทศไทย


นายแพทย์บุญสม มาร์ติน : ผู้ริเริ่มการก่อตั้งวิทยาลัยพลศึกษาทั่วประเทศ



7. ห้องพระองค์เจ้าพีระ


- พระรูปจำลองพระองค์เจ้าพีระพงศ์ภาณุเดช


- รูปจำลองรถยนต์แข่ง จากคอก "หนูขาว"


- บอร์ดแสดงพระประวัติ และพระจริยวัตรด้านการกีฬาของ พระวรวงศ์เธอพระองค์เจ้าพีระพงศ์ภาณุเดช


- คอมพิวเตอร์เผยแพร่ข้อมูล ระบบสัมผัสจอภาพ



8. ห้องพระบรมวงศานุวงศ์กับการกีฬา


- พระรูปจำลองสมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนี


- บอร์ดแสดงพระราชจริยวัตรด้ารการกีฬาของสมเด็จพระบรมโอรสาธิราช เจ้าฟ้ามหาวชิราลงกรณ์ สยามมกุฏราชกุมาร


- บอร์ดแสดงพระราชจริยวัตรด้ารการกีฬาของสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา เจ้าฟ้ามหาจักรีสิรินธร สยามบรมราชกุมารี


- บอร์ดแสดงพระราชจริยวัตร ด้านการกีฬาของสมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนี


ที่ตั้ง..
"พิพิธภัณฑ์กีฬาแห่งชาติ "
ตั้งอยู่ระหว่าง W4 และ W52088 ถนนรามคำแหง แขวงหัวหมาก เขตบางกะปิ กรุงเทพมหานคร 10240
โทรศัพท์ 0 2718 5913 - 4โทรสาร 0 2319 8037


การให้บริการ..


เปิดทำการ : วันจันทร์ - เสาร์ เวลา 08.30 -16.30 นาฬิกาปิดทำการ : วันอาทิตย์ และวันนักขัตฤกษ์การบริการ : ไม่เก็บค่าเข้าชม

พิพิธภัณฑ์ทั่วไป>>พิพิธภัณฑ์เด็ก



พิพิธภัณฑ์เด็ก

พิพิธภัณฑ์เด็ก กรุงเทพมหานคร นับเป็นพิพิธภัณฑ์เด็กแห่งแรกของประเทศไทย และในเอเซียตะวัน ออกเฉียงใต้ จัดตั้งขึ้นตาม พระราชปรารภ ของสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ ที่ทรงปรารถนา ให้เด็กไทยได้รับโอกาสในการเรียนรู้อันกว้างขวาง ซึ่งคณะผู้บริหาร กรุงเทพมหานคร ในสมัยของ ดร. พิจิตต รัตตกุล ได้สนองพระราชปรารภ โดยจัดพื้นที่ส่วนหนึ่ง ของสวนสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ จำนวน 5 ไร่ ที่มูลนิธิสวนสมเด็จ พระนางเจ้าสิริกิติ์ มอบให้เป็นสถานที่ก่อสร้าง อาคารพิพิธภัณฑ์เด็ก สำนักสวัสดิการสังคม กรุงเทพมหานคร ได้เริ่มก่อสร้าง พิพิธภัณฑ์เด็ก ขึ้นเมื่อ ต้นปี 2543 และแล้วเสร็จ สมบูรณ์ในกลางปี 2544 ในสมัยของนายสมัคร สุนทรเวช เป็นผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร

พิพิธภัณฑ์เด็กกรุงเทพมหานครประกอบด้วยอาคารจัดแสดงนิทรรศการ 3 หลัง พร้อมห้องประชุม และพื้นที่บริการส่วนต่างๆ ในอาคาร รวมพื้น ที่กว่า 7,000 ตารางเมตร กับพื้นที่ลานกว้าง นอกอาคาร ซึ่งจัดเป็นส่วน กิจกรรม การเรียนรู้ และสันทนาการ มีพื้นที่กว่า 3,000 ตารางเมตรกรุงเทพมหานคร ได้มอบพิพิธภัณฑ์เด็กฯ ให้อยู่ในความ ดูแลรับ ผิดชอบ ของมูลนิธิพิพิธภัณฑ์เด็ก กรุงทพมหานคร เพื่อจัดให้มีการบริการ การเรียนรู้ที่มีคุณภาพ และมีประสิทธิภาพ อย่างเต็มที่

เป็นแหล่งเรียนรู้ตามอัธยาศัย แนวทางยึดเอาเด็กเป็นศูนย์กลาง เรียนรู้หลากหลายผ่าน เน้นการได้ลงมือสัมผัส จับทำด้วยตนเอง เพลิดเพลิน และมีความสุขไปพร้อมกับการเรียนรู้

เป็นแม่แบบของการให้บริการการเรียนรู้นอกระบบโรงเรียน ที่มีชีวิตชีวา มีการพัฒนาองค์ความรู้ที่ทันสมัย และการให้บริการที่มีคุณภาพ เชื่อม ประสานกับการเรียนรู้ในโรงเรียน ศูนย์เยาวชน และชุมชนต่างๆ ทั่วประเทศ

แนวคิดในการบริการ

• สรรพสิ่งทั้งโลกธรรมชาติ และโลกวัฒนธรรม มีความแตกต่าง หลากหลาย มนุษย์เราต้องเรียนรู้ ที่จะอยู่กับความแตกต่าง หลากหลาย อย่างสันติ

• สรรพสิ่งสัมพันธ์เชื่อมโยงกัน องค์ความรู้แต่ละด้านไม่ได้เกิดขึ้นและ ดำรงอยู่อย่างโดดเดี่ยวแต่สัมพันธ์กัน เป็นเหตุปัจจัยของกันและกัน และพึ่งพา อาศัยกัน ทำให้สรรพสิ่งดำรงอยู่ร่วมกัน ได้อย่างกลมกลืน

การให้บริการ..
วันอังคาร- วันศุกร์ เวลา 09.00-17.00
วันเสาร์-วันอาทิตย์ เวลา 10.00-18.00
หยุดให้บริการทุกวันจันทร์

อัตราค่าบริการ..
อัตราค่าเข้าชมผู้ใหญ่ และนิสิตนักศึกษา 70 บาทเด็กอายุ 2 ปี-14 ปี 50 บาทเด็กอายุต่ำกว่า 2 ปี , พระภิกษุ สามเณร และผู้พิการ ไม่เสียค่าเข้าชม

พิพิธภัณฑ์ธนาคาร>พิพิธภัณฑ์ธนาคารออมสิน

พิพิธภัณฑ์ธนาคารออมสิน

ประวัติ..
จากการเสด็จไปทรงศึกษาที่ประเทศอังกฤษของรัชกาลที่ 6ทรงทอดพระเนตรเห็นการดำเนินงานคลังออมสินของอังกฤษ ซึ่งทำหน้าที่ระดมเงินออมจากประชาชนรายย่อยมาให้รัฐบาลใช้เป็นเงินทุนประกอบกิจกรรมต่างๆเมื่อเสด็จขึ้นครองราชย์จึงทรงมีพระราชประสงค์ดำเนินกิจการออมสินขึ้นในประเทศไทย
คลังออมสินก่อตั้งขึ้นในปี 2456 ดำเนินการภายใต้ กระทรวงพระคลังมหาสมบัติ ผ่านการเปลี่ยนแปลงพร้อมกับ ประวัติศาสตร์ไทยจนมาเป็น “ธนาคารออมสิน” ธนาคารของประชาชนไทยในปัจจุบัน

หลังจากดำเนินงานครบ 78 ปีในปี 2534 คณะผู้บริหารได้ดำเนินการจัดตั้งพิพิธภัณฑ์ขึ้นสิ่งของที่จัดแสดงมีตั้งแต่สมุดฝากในอดีตจนถึงปัจจุบัน สลากออมสิน ปฏิทินกล่องออมสิน สื่อสิ่งพิมพ์ ของชำร่วย เงินตราโบราณ ฯลฯ
ที่ตั้ง..
ที่ตั้ง : ธนาคารออมสินสำนักงานใหญ่ อาคาร 72 ปี (อาคาร 4) ชั้น 7 470 ถ. พหลโยธิน แขวงสามเสนใน เขตพญาไท กรุงเทพฯ 10400โทรศัพท์ : (662) 299-8000: 9108, 9243โทรสาร : (622) 270-1441
การเดินทาง..
รถประจำทาง : 4 26 27 28 29 34 38 39 54 59 63 74 77 97 108 รถปรับอากาศ : 13 502 503 509 510 513 ปอ.พ. 2 8 5 12
การให้บริการ..
เวลาทำการ : จันทร์-ศุกร์ 8.30-16.30 น.วันหยุดทำการ : เสาร์-อาทิตย์ วันนักขัตฤกษ์ วันหยุดครึ่งปีธนาคาร (1 ก.ค.)
อัตราค่าเข้าชม..
ค่าธรรมเนียม ค่าเข้าชม : ไม่เสียค่าธรรมเนียมกิจกรรม เทศกาล : จัดนิทรรศการ งานวันเด็ก ห้องสมุด : ธนาคารออมสิน ชั้น 3

พิพิธภัณฑ์ธนาคาร>พิพิธภัณฑ์ธนาคารไทย ธนาคารไทยพาณิชย์

พิพิธภัณฑ์ธนาคารไทย ธนาคารไทยพาณิชย์
หลังจากการเปิดธนาคารแห่งแรกในประเทศไทยโดยชาวอังกฤษเมื่อปี 2431 ระบบการเงินและการธนาคารของไทยจึงวิวัฒนาการเข้าสากล เอกสารการเงินที่เกี่ยวข้องจึงทรงคุณค่ากับประวัติศาสตร์ของการธนาคารไทยอย่างยิ่ง
การจัดแสดง..
ส่วนที่ 1 วิวัฒนาการเงินตรา เริ่มต้นจากเงินตราสมัยก่อนประวัติศาสตร์ โดยมีสื่อกลางแลกเปลี่ยนคือ สัตว์เลี้ยงทาส หินมีค่ามาถึงโลหะเงิน โลหะทอง การพัฒนาเป็นเงินตราการสะสมสินค้า การฝากสินค้ามีค่าและแลกเปลี่ยนสกุลเงินตราจนกระทั่งเกิดธนาคาร

ส่วนที่ 2 วิวัฒนาการธนาคาร เริ่มจากเหตุการณ์เกิดความต้องการสถาบันการเงินจนต้องเข้าสู่ระบบธนาคาร สาขาธนาคารพาณิชย์ต่างประเทศเข้ามาดำเนินกิจกรรมในไทย และวิวัฒนาการการจัดตั้ง “ บุคคลัภย์” ธนาคารพาณิชย์แห่งแรก

ส่วนที่ 3 ต้นแบบธนาคาร การประสพความสำเร็จของบุคคลัภย์ในการดำเนินงานนำไปสู่การเกิดธนาคารพาณิชย์อื่นๆ ซึ่งเอกสารและประวัติศาสตร์ในช่วงเวลานี้น่าสนใจอย่างมาก

ส่วนที่ 4 ไทยพาณิชย์กับการก้าวสู่ยุคปัจจุบัน นำเสนอวิสัยทัศน์ การปรับองค์กรเพื่อรองรับการพัฒนาประเทศ การแผ่ขยายทางธุรกิจและการนำธนาคารก้าวสู่ความเป็นสากล
ที่ตั้ง..
ที่ตั้ง:9 ถ.รัชดาพิเษก แขวงลาดยาวเขตจตุจักร กรุงเทพฯ 10900
โทรศัพท์ :(662) 544-4504 544-4525 544-4462-3
โทรสาร:(662) 937-7454

การเดินทาง..
รถประจำทาง :26 28 39 108 112 126 206 รถปรับอากาศ :38 49 206545 เวลาทำการ: อังคาร-เสาร์ 10.00-17.00น. ปิดทำการ : จันทร์ อาทิตย์ วันนักขัตฤกษ์ วันหยุดครึ่งปีธนาคาร

อัตราค่าเข้าชม..
ค่าธรรมเนียม ค่าเข้าชม : ไม่เสียค่าธรรมเนียม

บริการอื่นๆ..
มัคคุเทศก์ : ในกรณีที่เข้าชมเป็นหมู่คณะ(ต้องแจ้งล่วงหน้า)
ห้องสมุด : ธนาคารไทยพาณิชย์:ข้อมูลสารสนเทศด้านวิชาการการเงิน ธนาคาร บริหาร เศรษฐกิจเวลาทำการ: จันทร์-ศุกร์ 8.00-17.00น. เสาร์ อาทิตย์ วันนักขัตฤกษ์ัปิดทำการ :วันหยุดครึ่งปีธนาคารโทรศัพท์ : (662) 5443615-9 โทรสาร:(662) 5443620

พิพิธภัณฑ์ธนาคาร>พิพิธภัณฑ์ธนาคารแห่งประเทศไทย

พิพิธภัณฑ์ธนาคารแห่งประเทศไทย
พิพิธภัณฑ์ธนาคารแห่งประเทศไทย ตั้งอยู่ใน ตำหนักวังบางขุนพรหม ซึ่งเป็นโบราณสถานที่มี ความงดงามทางสถาปัตยกรรมและศิลปกรรม แห่งหนึ่งของกรุงรัตนโกสินทร์ ปัจจุบันจัดแสดง วิวัฒนาการด้านเงินตราที่สมบูรณ์แบบของประเทศ เพื่อเผยแพร่ความรู้แก่บุคคลทั่วไปโดยเฉพาะ เยาวชน ให้ตระหนักถึงคุณค่าแห่งมรดกทางวัฒนธรรมของชาติ

วังบางขุนพรหม มีประวัติยาวนานเกือบร้อยปี ตำหนักวังบางขุนพรหม แบ่งออกเป็น 2 ส่วนคือ ตำหนักใหญ่และตำหนักสมเด็จ สำหรับตำหนัก ใหญ่ก่อสร้างเสร็จสมบูรณ์เมื่อปี 2449 โดยมี สถาปนิกชาวอิตาเลียนคือนายมาริโอ ตามาญโญ เป็นผู้ออกแบบตามศิลปะสถาปัตยกรรมแบบ บาโรก และโรโกโก
ส่วนตำหนักสมเด็จ สร้างขึ้นภายหลังประมาณ ปี 2456 เพื่อเป็นที่ ประทับของสมเด็จพระปิตุจฉาเจ้า สุขุมาลมารศรี พระอัครราชเทวี โดยมี นายคาร์ล เดอริง สถาปนิกชาวเยอรมัน เป็นผู้ออกแบบ มีลักษณะ ศิลปะสถาปัตยกรรม แบบอาร์ตนูโว และอาร์ตเดโค นอกจากนี้ยังมี ภาพวาดปูนเปียก ภาพนักบวชหญิงในสวน ดอกไม้ อยู่บนผนังภายในตำหนักสมเด็จ ซึ่งเป็นฝีมือของนายริโกลี จิตรกรชาวอิตาเลียน ด้วย
นอกจากนี้ ตลอดระยะเวลา 30 ปี ที่วังบางขุนพรหมเป็นที่ประทับ ของสมเด็จฯ เจ้าฟ้าบริพัตร สุขุมพันธุ์ กรมพระนครสวรรค์วรพินิต วังบางขุนพรหม ยังเป็น สถานที่ประชุมสโมสรสันนิบาต ต้อนรับแขกบ้านแขกเมืองมาหลายสมัย ทั้งยังเป็น แหล่งรวมศิลปวิทยาการแขนงต่าง ๆ เช่น เป็นที่ สอนวิชาการต่าง ๆ โดย ครูชาวต่างประเทศ ให้กับ บรรดาพระธิดาและเจ้านายฝ่ายในของวังอื่น ๆ เรียกกันว่า "บางขุนพรหมยูนิเวอร์ซิตี้" เป็นต้น อีกทั้ง สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้าบริพัตร สุขุมพันธุ์ กรมพระนครสวรรค์วรพินิต โปรดการดนตรีทั้งไทยและสากล ได้ทรงนิพนธ์เพลงไว้ถึง 39 เพลง ที่รู้จัก กันดีถึงปัจจุบัน นอกจาก การดนตรีทรงสนพระทัย ค้นคว้าและเลี้ยงกล้วยไม้ด้วย วังบางขุนพรหมจึงเป็นที่สังสรรค์ของพระบรม วงศานุวงศ์ ทูตานุทูต ศิลปิน ตลอดจนนักเล่น กล้วยไม้ ไม้ดัด เครื่องลายคราม และเครื่องมุก ฯลฯ ซึ่งสิ่งเหล่านี้ยังสืบทอดมาเป็นมรดกทางวัฒนธรรมจวบจนปัจจุบัน

การให้บริการ..
พิพิธภัณฑ์ธนาคารแห่งประเทศไทย ยินดี ต้อนรับ คณะบุคคลทั่วไป ในระหว่างเวลา 9.00-12.00 น. และ 13.00 - 16.00 น. ตั้งแต่วันจันทร์ถึงวันศุกร์ยกเว้นวันหยุดธนาคาร
ที่ตั้ง..
พิพิธภัณฑ์ธนาคารแห่งประเทศไทย
273 ถนนสามเสน บางขุนพรหม กรุงเทพฯ 10200
โทรศัพท์ 0-2283-6723, 5286, 5265
โทรสาร 0-2628-5892
E- mail : Amporn@bot.or.th

พิพิธวิทยาศาสตร์>>พิพิธภัณฑ์มด

พิพิธภัณฑ์มด

พิพิธภัณฑ์มด จัดตั้งขึ้นในปี พ.ศ. 2544 กล่าวได้ว่าพิพิธภัณฑ์แห่งนี้มีความสมบูรณ์ทางวิชาการมากที่สุดในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้และเป็นแห่งแรกของโลกอีกด้วย
โดยมีวัตถุประสงค์ คือ
1. เพื่อเก็บรวบรวมตัวอย่างมดจากทั่วประเทศ
2. เพื่อเก็บรวบรวมตัวแทนสกุลมดจากประเทศต่างๆทั่วโลก โดยเฉพาะในแถบเอเซียตะวันออก เฉียงใต้
3. เพื่อศึกษาด้านอนุกรมวิธาน ชีววิทยา และนิเวศวิทยาของมด
4. เพื่อเป็นแหล่งความรู้แก่ผู้สนใจทั่วไป และสามารถนำไปประยุกต์ใช้ให้เกิดประโยชน์สูงสุด ต่อตนเองและประเทศชาติ
5. เพื่อเป็นศูนย์กลางการศึกษามดในเอเซียตะวันออกเฉียงใต้
พิพิธภัณฑ์มด จัดแสดงตัวอย่างมดตามกลุ่มเป้าหมายและการใช้ประโยชน์ โดยแบ่งออกเป็น 3 ประเภท คือ


การจัดแสดง..
กลุ่มแรก เป็นการจัดตัวอย่างมดในเอเซียตะวันออกเฉียงใต้และประเทศอื่นๆ สำหรับนักอนุกรม วิธานมดเท่านั้น โดยจัดแสดงไว้ที่ห้องปฏิบัติการทางกีฏวิทยาป่าไม้ ตึกวนศาสตร์ 60 ปี

กลุ่มที่สอง เป็นการจัดแสดงตัวอย่างมดในประเทศไทย สำหรับนักวิจัยแมลงทั่วไป นักนิเวศวิทยา นักชีววิทยา เป็นต้น โดยจัดแสดงไว้ที่ห้องปฏิบัติการทางกีฏวิทยาป่าไม้ ตึกวนศาสตร์ 60 ปี

กลุ่มที่สาม เป็นการจัดแสดงตัวอย่างมดในเอเซียตะวันออกเฉียงใต้สำหรับประชาชนทั่วไป จัด แสดงไว้ที่ห้องพิพิธภัณฑ์มด ตึกวินิจวนันดร โดยเป็นการจัดเชิงประยุกต์ภายใต้แนวความคิดใหม่ เช่น มดกับสิ่งแวดล้อม มดกับมนุษย์ การประยุกต์ใช้มดกับงานด้านต่างๆ เป็นต้น เพื่อแสดงให้กับคนทุกเพศ ทุกวัย มุ่งเน้นการนำไปใช้ประโยชน์มากกว่าการเก็บรวบรวมตัวอย่าง

ลักษณะตัวอย่างมด ที่นำมาจัด แสดง มีทั้งตัวอย่างมดเปียก ซึ่งเป็น ตัวอย่างมดแบบชั่วคราวมี ประมาณ 100,000 กว่าตัว และตัวอย่างมดแห้ง เป็นการเก็บตัวอย่างแบบถาวร และจัดใน รูปแบบมาตรฐานสากลของนักอนุกรมวิธาน มด โดยจะมีการบันทึกข้อมูลด้านต่างๆ ประกอบด้วย สถานที่ ประเทศ วันเดือนปี ชื่อผู้เก็บ ชื่อชนิดมด ชื่อผู้จำแนก ซึ่งใน พิพิธภัณฑ์มดมีตัวอย่างมดแห้งมากกว่า 20,000 ตัว
การจัดแสดงตัวอย่างมดในประเทศไทยสำหรับนักวิจัยทางแมลงทั่วไป นักนิเวศวิทยา นักชีววิทยา และอื่นๆ ตัวอย่างมดแห้งจัดแสดงตามลักษณะถิ่นอาศัยในกล่องไม้ติดกระจกการจัดแสดงตัวอย่างมดในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้สำหรับบุคคลทั่วไป ที่ห้องพิพิธภัณฑ์มดภายใต้แนวคิดเพื่อคนทุกวัย มุ่งเน้นการนำไปใช้ประโยชน์ มากกว่าการเก็บรวบรวมตัวอย่าง อาทิ มดกับมนุษย์ สำรวจร่ายกายมด มดกับระบบนิเวศ มดกับวิถีชีวิตไทย โดยมีตัวอย่างแห้ง รังมด ภาพถ่ายการจำลองถิ่นอาศัย และการเลี้ยงมดจริง การประยุกต์ใช้มดในงานต่างๆ มหกรรมมดนานาชาติ
ที่ตั้ง..
สำหรับสถานที่ตั้งของพิพิธภัณฑ์มด นี้มี 2 แห่ง เพื่อความสะดวกในการใช้ ประโยชน์ของผู้เยี่ยมชม ดังนี้
ห้องปฏิบัติการทางกีฏวิทยาป่าไม้ ตึกวนศาสตร์ 60 ปี สำหรับนักวิจัย
ห้องพิพิธภัณฑ์มด ชั้น 2 ตึกวินิจ วนันดร สำหรับประชาชนทั่วไป
การให้บริการ..
เปิดให้เข้า ชมฟรี ระหว่างวันจันทร์-ศุกร์ เวลา 09.00- 16.00 น. สำหรับวันหยุดต้องติดต่อเป็น กรณีพิเศษ โดยทุกครั้งที่มีการเยี่ยมชมจะมี ผู้บรรยายตลอดการเข้าชม

ติดต่อ..
สนใจสอบถาม รายละเอียดเพิ่มเติม หรือติดต่อขอเข้า เยี่ยมชมได้ที่ รศ.เดชา วิวัฒน์วิทยา ภาควิชาวนชีววิทยาป่าไม้ คณะวน ศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ จตุจักร กรุงเทพฯ 10900 โทรศัพท์ 0-2579-0176 โทรสาร 0-2942-8107

พิพิธวิทยาศาสตร์>>พิพิธภัณฑ์แมลง

พิพิธภัณฑ์แมลง

พิพิธภัณฑ์แมลง เป็นสถานที่เก็บรวบรวมและรักษาตัวอย่างแมลงโดยทั่วไป เพื่อใช้เป็นหลักฐานสำหรับงานศึกษาวิจัย ของนักอนุกรมวิธาน นิสิต นักศึกษา หรือผู้สนใจเกี่ยวกับแมลงชนิดต่างๆ ทั้งที่มีคุณประโยชน์และที่มีโทษต่อมนุษย์ ทำให้เข้าใจถึงลักษณะความเป็นไปของแมลงต่างๆ และสามารถนำไปประยุกต์ใช้ในชีวิตประจำวันอย่างได้ผล มีจำนวนแมลงที่เก็บรวบรวมไว้ทั้งสิ้นประมาณ 100,000 ตัวอย่าง
โดยจัดจำแนกตัวอย่างแมลงออกตามลักษณะอนุกรมวิธานระดับ อันดับ ตามแต่ละตู้ ซึ่งในแต่ละตู้จะแยกเป็นลิ้นชักต่างๆ ตามลักษณะอนุกรมวิธานระดับ วงศ์ เรียงลำดับตามตัวอักษร มีแมลงบางชนิดได้รับการวิเคราะห์จนถึง ชื่อ สกุล และชนิด เช่น ผีเสื้อกลางวัน ด้วงบางชนิด แมลงปอ เพลี้ยอ่อน แมลงวันหัวบุบ ผึ้ง ต่อ มอดขนปก จากนักอนุกรมวิธานทั้งชาวไทยและชาวต่างประเทศที่มาเยี่ยมชมพิพิธภัณฑ์ อีกทั้งยังกรุณาวิเคราะห์ตัวอย่างแมลงต่างๆ จนถึง ชื่อวิทยาศาสตร์ ดังนั้นพิพิธภัณฑ์แมลงภาควิชากีฏวิทยาจึงมีแมลงตัวใหม่ๆ ของโลกที่เก็บไว้ในรูปแบบของ paratype หลายชนิด

พิพิธวิทยาศาสตร์>>พิพิธภัณฑ์วิทยาศาสตร์



พิพิธภัณฑ์วิทยาศาสตร์

พิพิธภัณฑ์วิทยาศาสตร์เป็นพิพิธภัณฑ์แห่งแรกของ อพวช.เปิดให้บริการในปีพ.ศ.2543 มีภารกิจหลักดังนี้

1.พัฒนาและจัดแสดงนิทรรศการด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีเพื่อชักนำให้ผู้ชมเกิดความเข้าใจและรักในวิทยาศาสตร์ และเทคโนโลยีอันจะนำไปสู่การปฏิบัติที่เป็นประโยชน์ ต่อการพัฒนาประเทศในอนาคต

2.จัดแสดงนิทรรศการเกี่ยวกับเทคโนโลยีพื้นบ้านเพื่อให้ผู้ชมเข้าใจถึงกระบวนการการผลิตที่มีหลักการทางวิทยาศาสตร์แทรก อยู่ในแต่ละขั้นตอนและเกิดความภาคภูมิใจในภูมิปัญญาของบรรพบุรุษตลอดจนมรดกทางวัฒนธรรมของไทย

นอกจากผู้ชมจะได้สัมผัสกับอาคารทรงลูกเต๋าที่มีรูปทรงอันน่าทึ่งแล้วภายในยังจะได้สัมผัสกับการจัดแสดงนิทรรศการที่มีรูปแบบการนำเสนอแสดงให้เห็นถึงความก้าวหน้าและการพัฒนาของวิทยาศาสตร์ และเทคโนโลยี แบ่งเนื้อหาสาระออกเป็น 6 หัวข้อจัดแสดงในแต่ละชั้นภายในอาคาร
การจัดแสดง..
ชั้นที่ 1 ส่วนต้อนรับและแนะนำการเข้าชม
ชั้นที่ 2 ประวัติความเป็นมาของวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
ชั้นที่ 3 วิทยาศาสตร์ขั้นพื้นฐานและพลังงาน
ชั้นที่ 4 วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีในประเทศไทย
ชั้นที่ 5 วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีในชีวิตประจำวัน
ชั้นที่ 6 เทคโนโลยีภูมิปัญญาไทย

พิพิธภัณฑ์วิทยาศาสตร์ เป็นพิพิธภัณฑ์ที่จัดตั้งโดยองค์การพิพิธภัณฑ์วิทยาศาสตร์แห่งชาติ กระทรวงวิทยาศาสตร์จัดแสดงนิทรรศการและจัดกิจกรรมด้านวิทยาศาสตร์และ เทคโนโลยี นำเสนอสาระน่ารู้นับจากการค้นพบทฤษฎี หลักการ และการประดิษฐ์ในอดีต

ความก้าวหน้าถึงปัจจุบันและแนวโน้มสู่อนาคต นิทรรศการและชิ้นงานที่จัดแสดงนำเสนอ ในรูปแบบที่ให้ผู้ชมสามารถเรียนรู้และทำความเข้าใจด้วยการสัมผัส ทดลอง ร่วมแสดง และโต้ตอบกับชิ้นงานแสดงต่างๆ เนื้อที่จัดแสดงมีประมาณ 10,000 ตารางเมตร แบ่งเป็น 6 ชั้น


อาคารพิพิธภัณฑ์วิทยาศาสตร์ได้รับการออกแบบและก่อสร้างในรูปทรงเรขาคณิต ที่น่าทึ่ง สะท้อนให้เห็นถึงความก้าวหน้าของเทคโนโลยีในการก่อสร้างอันเป็นจุดดึงดูดความสนใจของผู้ที่ได้พบเห็นตัวอาคารมีลักษณะเป็นรูปสี่เหลี่ยมลูกบาศก์ 3 ลูก แต่ละลูกมีขนาด 20x20x20 เมตรวางพิงกันเพื่อพยุงและเฉลี่ยการรับน้ำหนักของกันและกัน ทำให้เกิดความสมดุลในการทรงตัวโดยมีรากฐานในการรับน้ำหนักของตึกตรงบริเวณมุมแหลมของรูปสี่เหลี่ยมลูกบาศก์ทั้ง 3 ลูกโดยจุดรับน้ำหนักแต่ละจุดสามารถรับน้ำหนักได้ถีง 200 ตันโครงสร้างทั้งหมดประกอบด้วยโครงเหล็กเพื่อเสริมด้านความแข็งแรงของอาคารโดยเฉพาะ ในส่วนของลูกบาศก์มีโครงสร้างเป็นโครงเหล็กถักแบ่งเป็น 6 ชั้น มีความสูงประมาณ 45 เมตร หรือเท่ากับอาคาร 12 ชั้นมีพื้นที่จัดแสดงนิทรรศการภายใน ประมาณ10000ตารางเมตรนอกจากนั้นผนังภายนอกอาคารยังกรุด้วยแผ่นเหล็กเคลือบเซรามิค (Ceramic steel) ซึ่งมีลักษณะผิวภายนอกที่ดูแลรักษาได้ง่ายและไม่ต้องทาสีตลอด อายุการใช้งานประกอบกับลักษณะพื้นผิวที่สะท้อนแสงและการติดตั้งที่มีความลาดเอียง จึงสะท้อนความร้อนได้มากช่วยให้ประหยัดพลังงานในการปรับอุณหภูมิภายในได้เป็นอย่าง ดีภายในอาคารมีการติดตั้งระบบควบคุมอุณหภูมิระบบป้องกันอัคคีภัยที่ไดมาตรฐานทั้งระบบตรวจจับควันไฟ(SmokeDetector) และระบบฉีดน้ำอัตโนมัติ(Sprinkle) ตลอดจนมีการจัดระบบการอำนวยความสะดวกในการเดินชม นิทรรศการภายในอาคารทั้งสำหรับผู้ชมทั่วไป และผู้ทุพลภาพจึงนับได้ว่านอกจากจะเป็นอาคารที่มีรูปทรงดึงดูดใจ แล้วยังเป็นอาคารที่ทันสมัยที่สุดแห่งหนึ่งในประเทศไทยอีกด้วย

ที่ตั้ง..
ตั้งอยู่ที่ เทคโนธานี ต.คลองห้า อ.คลองหลวง จังหวัดปทุมธานี

การให้บริการ..
เปิดให้บริการวันอังคาร-วัน อาทิตย์ (เว้นวันจันทร์) เวลา 9.30-17.00 น.

อัตราค่าเข้าชม..
ค่าเข้าชม เด็ก 20 บาท ผู้ใหญ่ 50 บาท โทร.02-577-4172-8
การเดินทาง..
การเดินทาง สามารถโดยสารรถประจำทางปรับอากาศสาย ปอ.1155 จากตลาดรังสิตและฟิวเจอร์พาร์ค ถึง

พิพิธวิทยาศาสตร์>>ศูนวิทยาศาสตร์เพื่อการศึกษาแห่งชาติ (ท้องฟ้าจำลอง)



ศูนย์วิทยาศาสตร์เพื่อการศึกษาแห่งชาติ ท้องฟ้าจำลอง

ระบบสุริยะจักรวาล ดาราศาสตร์ อวกาศ ธรรมชาติ และสิ่งแวดล้อม รวมถึงเทคโนโลยีเกี่ยวพันกับความเป็นจริงและวิถีของมนุษย์มาตลอด ศูนย์วิทยาศาสตร์ฯ จึงจดตั้งขึ้นเพื่อดำเนินกิจกรรมให้เยาวชนและประชาชนทั่วไปได้เรียนรู้สิ่งเหล่านี้ โดยอาศัยสื่อผสม สื่อจำลอง สื่อของจริง และกระบวนการเรียนรู้ผ่านประสบการณ์จากกิจกรรมหลากหลายที่

จัดขึ้นในแต่ละโอกาสอาคารท้องฟ้าจำลองกรุงเทพฯ จะจัดแสดงเป็นรอบๆ โดยแบ่งการแสดงเป็น 2 ส่วนคือ การฉายดาวบนท้องฟ้าในเวลาค่ำและรุ่งสาง ส่วนการฉายสไลด์มัลติวิชั่นจะเปลี่ยนเนื้อเรื่องตามรายการของแต่ละเดือนอาคารวิทยาสาสตร์และเทคโนโลยี จัดแสดงนิทรรศการถาวร 4 ชั้น เรื่องพื้นฐานการดำรงชีวิตของมนุษย์ ซึ่งผู้ชมสามารถจะทดลอง ทดสอบและสัมผัสสิ่งแสดงต่างๆ ได้ด้วยตนเอง เช่น ชั้นที่ 1 เป็นเรื่องของโลกวิทยาศาสตร์ การสื่อสารดาวเทียม เลเซอร์แสงมหัศจรรย์เมืองกระจกทะลุจักรวาลส่วนชั้นที่ 2 จัดแสดงการเปิดโลกพลังงาน ประวัติเวลาและเทคโนโลยีหุ่นยนต์ ฯลฯ

อาคารธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม จัดแสดงนิทรรศการถาวรด้วยสื่อที่หลากหลายและทันสมัย ผู้ชมสามารถเรียนรู้และร่วมกิจกรรมต่างๆภายในนิทรรศการด้วย มีทั้งหมด 6 ชั้น จัดแสดงที่ชั้น 3-8 โดยเริ่มตั้งแต่โลกดึกดำบรรพ์และฟอสซิล มนุษย์กับสิ่งแวดล้อมและภัยธรรมชาติ โลกของแมลง Discovery Room Cyber Club และมรดกจากธรรมชาติ

อาคารพิเศษ "โลกใต้น้ำ"จัดแสดงวิวัฒนาการสัตว์น้ำและพันธุ์ปลาสวยงามหลากลายชนิด นิทรรศการวิทยาศาสตร์การกีฬา นำเสนอเรื่องความสำคัญของร่างกยของตนเอง ประวัติวิทยาศาสตร์การกีฬา การรู้จักออกกำลังกาย การทดสอบสมรรถภาพร่างกาย เครื่องออกกำลังกายกลางแจ้ง เช่น หน้าผามหาสนุก ซึ่งจะต้องใช้ส่วนต่างๆของร่างกายในการทดลองด้วย

นอกจากนี้ทางศูนย์ฯ ยังมีการฝึกอบรม บรรยาย สาธิต ทัศนศึกษา เข้าค่ายแข่งขัน รวมทั้งกิจกรรมทางความรู้ที่จัดเป็นประจำและจัดในวันสำคัญต่าง ๆ สำหรับเยาวชนและผู้สนใจทั่วไป

ที่ตั้ง..
ที่ตั้ง928 ถ. สุขุมวิท แขวงพระโขนง เขตคลองเตย กรุงเทพฯ 10110โทรศัพท์ : (662) 392-1773, 392-5951-9: 1034, 2008, 2009โทรสาร : (662) 391-0522
เว็บ อีเมล์ : http://www.sciedug.nfe.go/

การเดินทาง..
รถประจำทาง : 2 23 25 38 40 48 72 98
รถปรับอากาศ : 1 สาย 2 8 23 25 38 511 513 ปอ.พ. 6
เวลาทำการ : อังคาร-อาทิตย์ 8.30-16.30 น.วันหยุดทำการ : จันทร์ วันนักขัตฤกษ์

อัตราค่าเข้าชม..
ค่าธรรมเนียม ค่าเข้าชม : ท้องฟ้าจำลอง: เด็ก 5 บาทผู้ใหญ่ 10 บาท
นิทรรศการและท้องฟ้าจำลอง:เด็ก 15 บาทผู้ใหญ่ 30 บาท
นักบวช: ไม่เสียค่าธรรมเนียมกิจกรรม

การแสดง..
รอบการแสดงประจำวัน: เวลาทำการ: อังคาร-ศุกร์ 11.00 น. 14.30 น.เสาร์-อาทิตย์ 14.30 น. 10.00 น. 13.30 น.
รอบจอง รอบพิเศษ (คณะนักเรียน):เวลาทำการ: อังคาร-ศุกร์ 10.00 น. 13.00 น.
รอบบรรยายภาษาอังกฤษ:เวลาทำการ: อังคาร 10.00 น.
ค่าธรรมเนียม: วิทยากรบรรยาย 300 บาท

บริการอื่นๆ..
ห้องสมุด: ชั้น 7 อาคาร 4
ร้านขายของที่ระลึก : ชั้น 1 อาคาร 4
ร้านอาหาร : ชั้น 1 อาคารท้องฟ้าจำลอง

พิพิธภัณฑ์บุลคลสำคัญ>>พิพิธภัณฑ์หุ่นขี้ผึ้ง



พิพิธภัณฑ์หุ่นขี้ผึ้ง

พิพิธภัณฑ์หุ่นขี้ผึ้ง แห่งนี้ เป็น พิพิธภัณฑ์ ที่จัดแสดง หุ่นขี้ผึ้ง ที่หล่อจาก ไฟเบอร์กลาส แห่งแรกของประเทศไทย เกิดจากแรงดลใจของ ผู้สร้างสรรค์กลุ่มหนึ่ง ซึ่งนำโดย อ.ดวงแก้ว พิทยากรศิลป์ มีวัตถุประสงค์ ในอันที่จะส่งเสริม เผยแพร่ อนุรักษ์ไว้ซึ่งศิลปวัฒนธรรม ประเพณีของไทย อันจะเป็นประโยชน์ ในการศึกษาค้นคว้าของเยาวชนสืบไป

การจัดแสดงจะจัดหุ่นไว้เป็นชุด ๆ อาทิเช่น ชุดพระบรมรูปอดีตพระมหากษัตริย์ราชวงศ์จักรี ชุดพระอริยสงฆ์ ชุดสมเด็จพระปิยมหาราชกับการเลิกทาส ฯลฯ หุ่นแต่ละรูปนั้นจะมีลักษณะเหมือนคนจริง ๆ ไม่ว่าจะเป็นผิว ดวงตา แขน เส้นผม

การให้บริการ..

เปิดให้เข้าชมทุกวัน จันทร์ ถึง ศุกร์ เวลา ๙.๐๐ - ๑๗.๓๐ น. เสาร์ อาทิตย์ และ วันหยุดราชการ เวลา ๘.๓๐ - ๑๘.๐๐ น.

ที่ตั้ง..
พิพิธภัณฑ์หุ่นขี้ผึ้งไทย 472 หมู่ 1 ถนนบรมราชชนนี (ปิ่นเกล้า-นครชัยศรี) กม.31
ต.ขุนแก้ว อ.นครชัยศรี จ.นครปฐม 73120
โทร. 0-3433-2607, 0-3433-2109, 0-3433-2061
โทรสาร 0-3433-2061