วันศุกร์ที่ 15 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2551

พิพิธภัณฑ์ประวัติศาสตร์>>พิพิธภัณฑ์ชาวบางกอก



พิพิธภัณฑ์ชาวบางกอก
ประวัติ..
หลังจากสิ้นสุดของสงครามโลกครั้งที่ 2 ในปี 2488 กรุงเทพฯ ได้เปลี่ยนจาก “ สวนและชนบท” เป็น เมืองใหญ่ ภายในพิพิธภัณฑ์ฯ ได้รวบรวมสิ่งของและเครื่องใช้ในอดีต ที่แสดงถึงวิวัฒนาการของวิถีชีวิตและความเป็นอยู่ของคนกรุงเทพฯ ตั้งแต่สมัยสงครามโลกครั้งที่ 2

การจัดแสดง..
บ้านหลังที่ 1 เป็นบ้านไม้ทรงปั้นหยาสร้างในปี 2480 ภายในบ้านยังคงรักษาบรรยากาศเดิม ไม่ว่าจะเป็นห้องนอนห้องรับแขกหรือแม้แต่เครื่องเรือนก็เป็นยุคเดียวกันกับตัวบ้าน

บ้านหลังที่ 2 เนื่องจากเจ้าของบ้านเดิมเป็นนายแพทย์ชาวอินเดีย ซึ่งสำเร็จการศึกษาจากประเทศอังกฤษ สิ่งของภายในบ้านจึงบ่งบอกถึงการถ่ายทอดวัฒนธรรม ระหว่างตะวันออกและตะวันตกได้อย่างน่าสนใจ
อาคารห้องแถว จัดเป็นห้องนิทรรศการแสดงสิ่งของเครื่องใช้ในชีวิตประจำวัน เช่น เครื่องครัว เครื่องมือช่าง ฯลฯ

ที่ตั้ง..

ที่ตั้ง: 273 ซ.เจริญกรุง 43 ถ.เจริญกรุง แขวงสี่พระยา เขตบางรัก กรุงเทพฯ 10500
โทรศัพท์ : (662)233-7027 (พิพิธภัณฑ์) 321-6930-8:กองทะเบียน (คุณวราพร สุรวดี)

การเดินทาง..
รถประจำทาง:1 35 36 75 93
รถปรับอากาศ:9 ปอ.พ.16

การให้บริการ..
เวลาทำการ: ติดต่อ:จันทร์-ศุกร์ 9.00-17.00 น. พิพิธภัณฑ์:เสาร์ อาทิตย์ 10.00-17.00 น.

ค่าเข้าชม..
ค่าธรรมเนียม-ค่าเข้าชม: ไม่เสียค่าธรรมเนียม

พิพิธภัณฑ์ประวัติศาสตร์>>พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พระนคร


พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พระนคร

ประวัติ..
เดิมนั้นเป็นพิพิธภัณฑสถานส่วนพระองค์ของรัชกาลที่ 4 ซึ่งจัดเก็บรักษาศิลปะโบราณวัตถุและเครื่องราชบรรณาการต่อมาในสมัยรัชกาลที่ 5 โปรดเกล้าฯ ให้ใช้ศาลาสหทัยสมาคมหรือหอคองคอเดียในพระบรมมหาราชวังจัดตั้ง "พิพิธภัณฑสถานสำหรับประชาชน" ขึ้นจากนั้นพิพิธภัณฑ์ได้ย้ายมายังพระที่นั่ง 3 องค์ในพระราชวังบวรสถานมงคล (วังหน้า) ในสมัยรัชกาลที่ 7 ทรงพระราชทานพระที่นั่งและหมู่พระวิมานทั้งหมดในวังหน้าให้เป็น "พิพิธภัณฑสถานสำหรับพระนคร"
ลักษณะพื้นที่การจัดแสดงแบ่งเป็น 3 หมวดคือ
ประวัติศาสตร์ชาติไทย เริ่มตั้งแต่อาณาจักรสุโขทัยจนถึงสมัยรัตนโกสินทร์จัดแสดง ณ พระที่นั่งศิวโมกข์พิมาน

ประวัติศาสตร์ศิลปะและโบราณคดีในประเทศไทย แบ่งเป็น 2 ยุค โดยสมัยก่อนประวัติศาสตรแสดงในพระที่นั่งศิวโมกข์พิมานด้านหลัง ส่วนสมัยประวัติศาสตร์จัดแสดงประติมากรรมสมัยพุทธศตวรรษที่ 18 ถึงสมัยรัตนโกสินทร์ที่อาคารประพาสพิพิธภัณฑ์และประติมากรรมสมัยก่อนพุทธศตวรรษที่ 18 นั้นจัดแสดงในอาคารมหาสุรสิงหนาถ ประณีตศิลปละชาติพันธุพิทยา จัดแสดงเครื่องดนตรี เครื่องถม เครื่องถ้วย เครื่องทอง เครื่องมุก เครื่องไม้จำหลัก เครื่องสูง ผ้าโบราณ หัวโขน หุ่นกระบอก ฯลฯ ในอาคารหมู่พระวิมาน
อาคารโรงราชรถ จัดแสดงราชรถใช้ในการพระบรมศพเช่น พระมหาพิชัยราชรถ เวชยันตรราชรถ ราชรถน้อย และเครื่องประกอบในพระราชพิธีถวายพระเพลิงพระบรมศพ

นอกจากศิลปะโบราณวัตถุแล้ว พระตำหนักและพระที่นั่งบางองค์นายในพิพิธภัณฑ์ เช่น พระที่นั่งพุทไธสวรรย์พระที่นั่งมังคลาภิเษก พระตำหนักแดง ศาลาลงสรง ฯลฯ ถือได้ว่าเป็นตัวอย่างสถาปัตยกรรมไทยสมัยรัตนโกสินทร์ตอนต้นที่มีความลงตัวอันโดดเด่นและงดงามอย่างยิ่ง

ที่ตั้ง...

ที่ตั้ง:ถ.หน้าพระธาตุ แขวงพระบรมมหาราชวัง เขตพระนคร กรุงเทพฯ 10200
โทรศัพท์ (662) 224-1333
แฟกซ์ (662) 224-1404

การเดินทาง..
รถประจำทาง: 3 6 9 15 19 30 32 33 39 43 47 53 59 60 65 70 80 82 91 123 201 203
รถปรับอากาศ:1 8 25 506 507 512 สาย38 39 82
ท่าเรือ: เรือด่วนเจ้าพระยา: ท่าช้าง

การให้บริการ..
เวลาทำการ: พุธ-อาทิตย์ 9.00-16.00 น.
วันหยุดทำการ: จันทร์-อังคาร วันนักขัตฤกษ์

ค่าเข้าชม..
ค่าธรรมเนียม ค่าเข้าชม: คนไทย 20บาท ชาวต่างชาติ 100 บาท

พิพิธภัณฑ์ประวัติศาสตร์>>พิพิธภัณฑ์บ้านไทย จิม ทอมป์สัน




พิพิธภัณฑ์บ้านไทย จิม ทอมป์สัน


ประวัติ..

นายจิม ทอมป์สัน (James H. W. Thompson) ผู้ก่อตั้งร้านผ้าไหมไทย "จิม ทอมป์สัน” ที่มีชื่อเสียงโด่งดังทั่วโลกเดิมทางมาประเทศไทยครั้งแรกในฐานะทหารอาสาสมัครของกองทัพสหรัฐฯ ในระหว่างสงครามโลกครั้งที่ 2 เมื่อสงครามยุติเขาจึงกลับมาดำเนินธุรกิจค้าผ้าไหมในประเทศไทยหลังจากตัดสินใจอยู่ในกรุงเทพฯ เป็นการถาวร เขาซื้อ บ้านทรงไทยภาคกลาง 6 หลังจากจังหวัดพระนครศรีอยุธยา มาปลูกใหม่ในกรุงเทพฯ ที่ริมคลองแสนแสบ ตัวบ้านแบ่งเป็น 2 ชั้น ชั้นบนเป็นห้องอาหาร ห้องนั่งเล่นห้องอ่านหนังสือ ห้องนอนสำหรับแขกและห้องนอนของเขาสิ่งของที่ตกแต่งภาย ในสะท้อนถึงความสนใจในวัฒนธรรมโบราณวัตถุและศิลป วัตถุทางเอเชียของเขาเป็นอย่างมากส่วนชั้นล่างจัดเป็นห้อง เบญจรงค์แสดงเครื่องเบญจรงค์เครื่องเคลือบดินเผาสีน้ำเงิน ขาวของจีน และบ้านรูปภาพจัดแสดงภาพเขียนโดยช่างไทยในปี 2403 แสดงถึงชีวิตความเป็นอยู่ในสมัยนั้น


พิพิธภัณฑ์จัดตั้งขึ้นหลังจากการหายตัวอย่างลึกลับของเขาในประเทศมาเลเซีย บ้านไทยหลังนี้และผ้าไหมจิมทอมป์สันจึงเป็นเสมือนมรดกของความกลมกลืนระหว่างความเป็นตะวันออกกับตะวันตกที่จิม ทอมป์สันสร้างสรรค์เพื่อเป็นตัวแทนของเขาต่อประเทศไทย


ที่ตั้ง..
ที่ตั้ง : 6 ซ. เกษมสันต์ 2 ถ. พระราม 1 แขวงวังใหม่ เขตปทุมวัน กรุงเทพฯ 10330
โทรศัพท์ : (662) 216-7368 โทรสาร : (662) 612-3744

การเดินทาง..

รถประจำทาง : 15 47 48 73 204รถปรับอากาศ : 8 ทางด่วน สาย 38 ปอ.พ.1ท่าเรือ : เรือโดยสาร: (ท่าหัวช้าง)

การให้บริการ..
เวลาทำการ : ทุกวัน 9.00-16.30 น.
ค่าธรรมเนียม ค่าเข้าชม : ผู้ที่อายุต่ำกว่า 25 ปี 50 บาท บุคคลทั่วไป 100 บาท

บริการเพิ่มเติม..

มัคคุเทศก์ : ญี่ปุ่น ฝรั่งเศส อังกฤษ

พิพิธภัณฑ์ประวัติศาสตร์>>พิพิธภัณฑ์เครื่องราชอิสริยาภรณ์ไทย


พิพิธภัณฑ์เครื่องราชอิสริยาภรณ์ไทย

ประวัติ..

พิพิธภัณฑสถานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ไทยหอวิวัฒนาการคณะรัฐมนตรีและราชกิจจานุเบกษาเครื่องราชอิสรอยาภรณ์ไทยที่ใช้ประดับกับเสื้อ เกิดขึ้นครั้งแรกในสมัยรัชกาลที่ ๔ โดยทรงมีพระราชดำริให้สร้างเหรียญตราขึ้นในปี ๒๔๐๐ เพื่อใช้ประดับเสื้อแสดงฐานะผู้ที่ได้รับพระราชทาน ทรงโปรดเกล้าฯ ให้เรียกว่า "เครื่องประดับสำหรับยศ” ส่วนของพระมหากษัตริย์ทรงเรียกว่า "เครื่องราชอิสริยยศ” และเครื่องประดับขุนนางทรงเรียกว่า "เครื่องสำคัญยศ” เมื่อถึงสมัยรัชกาลที่ ๕ ทรงเรียกเครื่องประดับสำหรับยศว่า "เครื่องราชอิสริยาภรณ์” เป็นครั้งแรกพิพิธภัณฑสถานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ไทย

การจัดแสดง...
จัดแสดงที่ชั้นล่าง ประกอบด้วยประวัติ เน้อหา การประดับเครื่องราชอิสริยาภรณ์ตระกูลต่างๆ โดยจัดแสดงบนหุ่นเรียงลำดับตามความสำคัญของเครื่องราชอิสริยาภรณ์ และจัดแสดงเหรียญราชอิสิยาภรณ์ ประกาศนียบัตรกำกับเครื่องราชฯ ด้วยห้องแสดงราชกิจจานุเบกษา พระราชสัญจกร รัฐธรรมนูญไทย จัดแสดงที่บริเวณห้องชั้นบนด้าทิศเหนือของอาคารห้องแสดงวิวัฒนาการคณะรัฐมนตรีไทย จัดแสดงที่ห้องชั้นบนด้านทิศใต้ โดยแสดงถึงประวัติ ความเป็นมาและลำดับการจัดตั้งคณะรัฐมนตรีในการปกครองประเทศของไทย


ที่ตั้ง..
อาคาร ร.ร. นายร้อยพระจุลจอมเกล้า(เดิม) ทำเนียบรัฐบาล ถ. พิษณุโลก แขวงวัดเบญจมบพิตรเขตดุสิต กรุงเทพฯ 10300
โทรศัพท์ : (662) 281-2240(ประชาสัมพันธ์) 280-6262(พิพิธภัณฑ์)
โทรสาร : (622) 282-8147


การเดินทาง..
ถประจำทาง : 10 23 70 201
รถปรับอากาศ : 3 70 183 201 505 509 521 ปอ.พ.8


การให้บริการ..
จันทร์-ศุกร์ 8.30-16.30 น.วันหยุดทำการ : เสาร์ อาทิตย์ วันนักขัตฤกษ์


ค่าเข้าชม..
ค่าธรรมเนียม ค่าเข้าชม : ไม่เสียค่าธรรมเนียม แต่ต้องเข้าชมเป็นหมู่คณะไม่ต่ำกว่า 10 คน โดยทำหนังสือขออนุญาตถึงเลขาธิการคณะรัฐมนตรีล่วงหน้าเป็นเวลา 1 สัปดาห์

พิพิธภัณฑ์ประวัติศาสตร์>>บ้านพิพิธภัณฑ์



บ้านพิพิธภัณฑ์


บ้านพิพิธภัณฑ์ดำเนินการเพื่อประโยชน์แก่สาธารณะ โดยสมาคมกิจวัฒนธรรมและอาสาสมัคร ทำพิธีเปิดอย่างเป็นทางการเมื่อวันเสาร์ที่ 14 กรกฎาคม พ.ศ.2544

คำว่าบ้านพิพิธภัณฑ์ หรือ House of Museums หมายถึงบ้านที่รวบรวมของต่างๆโดยหวังว่าจะเป็นแรงกระตุ้นให้เกิดพิพิธภัณฑ์แขนงต่างๆ ขึ้นอีกต่อไป

เรื่องราวที่จัดแสดง คือวิถีชีวิตชาวตลาดชาวเมืองในยุค 2500 และใกล้เคียง

ของที่จัดแสดง ส่วนใหญ่มาจากการบริจาค (ฉะนั้นแต่ละหมวดจึงไม่ได้มีของสมบูรณ์ทุกยุคทุกสมัย) อีกส่วนหนึ่งมาจากการซื้อด้วยเงินรายได้เท่าที่พอมี เพื่อให้มีของแปลกๆ มาเสริมให้ผู้ชมได้ดูของมากขึ้นเรื่อยๆ

เหตุที่จัดทำบ้านพิพิธภัณฑ์ขึ้นมาก็เพราะเห็นว่าของดีจำนวนมากถูกทิ้งไปโดยเปล่าประโยชน์ ในขณะที่เราไม่สามารถหาชมของจำพวกนี้ เช่น ตู้โต๊ะตั่งเตียงสวยๆ, แบบเรียน, ป้ายโฆษณา, ขวดน้ำอัดลม, แก้วน้ำ, ชามก๋วยเตี๋ยว, กล้องถ่ายรูป, ของแถม,ของเล่น, กระบอกเสียง ฯลฯ ได้จากพิพิธภัณฑ์ทั่วไป เพื่อให้มีแหล่งรับบริจาคและเก็บของ (ซึ่งจริงๆ แล้วรัฐควรเป็นผู้จัดทำทั้ง 4 ภาคหรือทุกจังหวัด) สมาคมกิจวัฒนธรรมจึงลงมือทำไปตามกำลังก่อนดังที่เห็น

“บ้านพิพิธภัณฑ์” เป็นบ้านของส่วนรวมหรือของสาธารณะ แทบทุกอย่างมาจากการบริจาค เริ่มตั้งแต่ที่ดิน 58 ตารางวา จาก ร.อ.อาลักษณ์ อนุมาศ, การออกแบบก่อสร้างอาคาร, การออกแบบห้องแสดง, ข้าวของที่นำมาจัดแสดง และที่สุดคือกรรมการซึ่งสละเวลามาช่วยกันทำงานเพื่อส่วนรวมโดยไม่มีเงินเดือน

สมาคมกิจวัฒนธรรมซึ่งก่อตั้งเมื่อ พ.ศ.2532 ปัจจุบัน พ.ศ.2550 มี ธงชัย ลิขิตพรสวรรค์ เป็นนายกสมาคม

การจัดแสดง..

เดิมบ้านพิพิธภัณฑ์มี 1 หลัง ปัจจุบันมี 2 หลัง
แนวการออกแบบหรือจัดแสดง คือ กั้นห้องเป็นเหมือนห้องแถวในตลาด

บ้านพิพิธภัณฑ์หลังที่ 1
ชั้น 1 จัดเป็นร้านของเล่น, ร้านขายของจิปาถะ, ร้านขายยา และร้านขายของที่ระลึก

ชั้น 2 จัดเป็นโรงหนัง โรงพิมพ์ในตรอกข้างโรงหนัง ร้านตัดผม-ตัดเสื้อ ร้านให้เช่าหนังสือนิยาย ร้านถ่ายรูป, ห้องครัว, บ้านสุวัตถี และห้องจัดแสดงของทั่วไป

ชั้น 3 จัดเป็นห้องเรียน ห้องนายอำเภอ ร้านขายแผ่นเสียง วิทยุโทรทัศน์ ร้านทองและร้านสรรพสินค้า

บ้านพิพิธภัณฑ์หลังที่ 2 มีชั้นเดียว สมมุติเป็นตลาดริมน้ำมีนอกชาน สร้างม้านั่งไว้ให้นั่งเล่นกันหน้าร้านกาแฟ, ร้านขายของชาวบ้าน, นอกจากนั้นมีร้านทำฟัน, ร้านขายเครื่องเขียนแบบเรียน, ร้านทอง และแผงหนังสือข้างร้านทอง เปิดให้เข้าชมได้ตั้งแต่ปลายปี 2549

พิพิธภัณฑ์ประวัติศาสตร์>>พิพิธภัณฑ์นาฬิกาโบราณ, พระที่นั่งในพระราชวังดุสิต กรุงเทพมหานคร



พิพิธภัณฑ์นาฬิกาโบราณ, พระที่นั่งในพระราชวังดุสิต กรุงเทพมหานคร

พิพิธภัณฑ์นาฬิกาโบราณ จัดแสดงอยู่ในตำหนักพระองค์เจ้าหญิงพวงสร้อยสอางค์ ตำหนักหลังนี้พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 5 ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้สร้างพระราชทานแด่พระน้องนางเธอ พระองค์เจ้าหญิงพวงสร้อยสอางค์

ในปีที่มีการเปลี่ยนแปลงการปกครอง ปีพุทธศักราช 2475 พื้นที่บางส่วนของพระราชวังดุสิตได้อยู่ในความดูแลของกองทัพบก ราวปี พ.ศ. 2532 อดีตผู้บัญชาการทหารสูงสุดและผู้บัญชาการทหารบก (พลเอก ชวลิต ยงใจยุทธ) ได้ทำหนังสือกราบบังคมทูล พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว น้อมเกล้าฯ ถวายพื้นที่ในความดูแลนี้รวมทั้งตำหนักพระองค์เจ้าหญิงพวงสร้อยสอางค์ ให้อยู่ในความดูแลของสำนักพระราชวังอีกครั้งหนึ่ง

พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้พื้นที่ในความดูแลนี้ขึ้นอยู่กับฝ่ายพิพิธภัณฑ์พระที่นั่งวิมานเมฆ เลขาธิการสำนักพระราชวัง (นายแก้วขวัญ วัชโรทัย) ได้ขอพระราชทานพระบรมราชานุญาต บูรณะซ่อมแซมให้คงสภาพสมบูรณ์ดังเดิมและขอพระราชทานพระบรมราชานุญาตจัดเป็นพิพิธภัณฑ์

การจัดแสดง..
ปัจจุบันจัดแสดงจานกระเบื้องขนาดใหญ่ มีลายพระหัตถ์พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ซึ่งทรงไว้คราวเสด็จฯ เยือนโรงงานกระเบื้องแคนตาคัลลี ประเทศอิตาลี พ.ศ. 2440 และตุ๊กตากระเบื้องจากเดรสเดน ประเทศเยอรมณี พร้อมทั้งจัดแสดงนาฬิกาโบราณในรัชสมัยของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 5 ซึ่งถือว่าเป็นยุคทองของนาฬิกา เพราะรัชสมัยของพระองค์ยาวนานถึง 42 ปี ในราชสำนักก็มีนาฬิกาอยู่มาก เป็นนาฬิกาที่พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงสั่งซื้อจากต่างประเทศ ในรัชสมัยของพระองค์ท่าน ยังมีพระบรมวงศานุวงศ์ และบุคคลต่าง ๆ นำมาทูลเกล้าถวายฯ ต่อมาในรัชสมัยของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว พระองค์ท่านเสด็จฯ เยือนยุโรปถึง 2 ครั้ง ในปี พ.ศ. 2440 และ พ.ศ. 2450 ได้ทรงสั่งนาฬิกาแบบต่าง ๆ มาไว้ในราชสำนักและพระราชทานเป็นของที่ระลึกแด่พระบรมวงศานุวงศ์ เป็นจำนวนมาก อาทิ

- นาฬิกาคุณปู่ เป็นนาฬิกาที่หาได้ยากและไม่ซ้ำแบบใคร เป็นนาฬิกาที่พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงสั่งทำพิเศษจากประเทศอังกฤษ อเมริกา และเยอรมนี

- นาฬิกาแขวนผนัง เป็นนาฬิกาที่ผลิตในประเทศอเมริกา อังกฤษ และเยอรมนี พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงสั่งทำพิเศษทั้งสิ้น เช่น นาฬิกาโรงเรียนหรือนาฬิกาแมงดา นาฬิกาลอนดอน นาฬิกาไหมซอ เป็นนาฬิกาชั้นเยี่ยมที่ผลิตในประเทศเยอรมนี ใช้เส้นไหมที่ทำสายซอมาแทนเส้นลวดถ่วงลูกตุ้ม
- นาฬิกาตั้งโต๊ะ เป็นนาฬิกาที่พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงสั่งทำพิเศษ เช่น นาฬิกาที่สามารถเดินได้ถึง 400 วัน เมื่อไขลานเต็มที่ 1 ครั้ง ผลิตจากประเทศเยอรมนี
- นาฬิกาตั้งโต๊ะที่มีตะเกียงน้ำมันส่องแสง เป็นนาฬิกาที่มีความพิเศษตรงที่หน้าปัดที่เป็นกังใสจะเดินแทนเข็มนาฬิกา ซึ่งจะหยุดอยู่กับที่

- นาฬิกาตั้งโต๊ะที่ทำด้วยกระเบื้องจากประเทศเยอรมนี มีตุ๊กตาชายหญิงประดับ

-นาฬิกาตะเกียง และนาฬิกาปลุก
นาฬิกาโบราณสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงสั่งทำพิเศษและเป็นนาฬิกาที่หยุดเดินมานานนับร้อยปีแล้ว ปัจจุบันนาฬิกาเหล่านี้สามารถเดินได้ดังเดิม โดยการนำมาทำความสะอาดล้างปัดฝุ่นเท่านั้น

พิพิธภัณฑ์ประวัติศาสตร์>>พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พระราชวังจันทรเกษม

พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พระราชวังจันทรเกษม

ประวัติ..
พระราชวังจันทรเกษม ตั้งอยู่บริเวณริมแม่น้ำป่าสัก (คลองคูขื่อหน้า) ทางด้านทิศเหนือ มุมตะวันออกของเกาะเมืองอยุธยา ใกล้ๆ กับตลาดหัวรอ ตำบลหัวรอ อำเภอพระนครศรีอยุธยา พระราชวังจันทรเกษมหรือวังหน้า ปรากฏหลักฐานตามพระราชพงศาวดารสันนิษฐานได้ว่า สร้างขึ้นในสมัยสมเด็จพระมหาธรรมราชาธิราช ประมาณ พ.ศ. 2120 โดยมีพระราชประสงค์เพื่อให้เป็นที่ประทับของสมเด็จพระนเรศวรมหาราช
นอกจากนี้ยังเคยเป็นที่ประทับของพระมหากษัตริย์และพระมหาอุปราชที่สำคัญถึง 8 พระองค์ คือ
- สมเด็จพระนเรศวรมหาราช
- สมเด็จพระเอกาทศรถ
- เจ้าฟ้าสุทัศน์
- สมเด็จพระนารายณ์มหาราช
- ขุนหลวงสรศักดิ์ (พระเจ้าเสือ)
- สมเด็จพระเจ้าท้ายสระ
- สมเด็จพระเจ้าบรมโกศ
- กรมพระราชวังบวรมหาเสนาพิทักษ์

ภายหลังเสียกรุงศรีอยุธยาครั้งที่ 2 ในปี พ.ศ. 2310 พระราชวังจันทรเกษมได้ถูกทิ้งร้างไป จนกระทั่งในสมัยพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวแห่งกรุงรัตนโกสินทร์ จึงได้มีการบูรณะและปรับปรุงพระราชวังจันทรเกษมขึ้นใหม่ เพื่อใช้สำหรับเป็นที่ประทับในเวลาที่พระองค์เสด็จประพาสพระนครศรีอยุธยา และโปรดพระราชทานนามว่า พระราชวังจันทรเกษม เมื่อวันที่ 26 มีนาคม 2436

ต่อมาในสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้พระราชทานพระราชวังจันทรเกษม ให้เป็นที่ทำการของมณฑลกรุงเก่า โดยใช้พระที่นั่งพิมานรัตยา ซึ่งเป็นหมู่ตึกกลางของพระราชวังเป็นที่ตั้ง
จนกระทั่งเมื่อ พระยาโบราณราชธานินทร์ได้เข้ามาดำรงตำแหน่งสมุหเทศาภิบาลมณฑลกรุงเก่า จึงได้จัดสร้างอาคารที่ทำการภาคบริเวณกำแพงทางด้านทิศตะวันตกต่อกับทิศใต้ แล้วย้ายที่ว่าการมณฑลจากพระที่นั่งพิมานรัตยามาตั้งที่อาคารที่ทำการภาคในขณะนั้น

สถาปัตยกรรมพระราชวังจันทรเกษม
สิ่งก่อสร้างที่ปรากฏอยู่ในปัจจุบัน ส่วนใหญ่สร้างขึ้นในสมัยพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว จากนั้นจึงมีการใช้งานกันเรื่อยมา ทั้งเป็นที่ประทับของพระมหากษัตริย์และที่ทำการมณฑลเทศาภิบาล จนกระทั่งในสมัยสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว จึงได้มีการซ่อมแซมและบูรณะอาคารต่างๆ ขึ้นมาอีกครั้ง

1 กำแพงพระราชวัง ปัจจุบันก่อเป็นกำแพงอิฐ มีใบเสมา มีประตูด้านละ 1 ประตู รวม 4 ด้าน แต่เดิมนั้นคำให้การชาวกรุงเก่ากล่าวว่า วังจันทรเกษมมีกำแพง 2 ชั้น เช่นเดียวกับวังหลวง

2 พลับพลาจตุรมุข ตั้งอยู่บริเวณกำแพงด้านหน้าชานของพลับพลา แต่เดิมเป็นซากแนวอาคารก่ออิฐถือปูน ในสมัยพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้ทรงโปรดให้สร้างอาคารพลับพลาขึ้นในลักษณะอาคารจตุรมุขแฝด เพื่อใช้เป็นท้องพระโรงสำหรับออกงานว่าราชการ และที่ประทับในเวลาเดียวกัน

3 พระที่นั่งพิมานรัตยา มีลักษณะเป็นหมู่ตึกกลางพระราชวัง ประกอบด้วยอาคาร 4 หลัง คือ อาคารปรัศว์ซ้าย อาคารปรัศว์ขวา พระที่นั่งพิมานรัตยา และศาลาเชิญเครื่อง กลุ่มอาคารพระที่นั่งพิมานรัตยานี้ พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้พระราชทานให้เป็นที่ว่าการมณฑลกรุงเก่า ในปี พ.ศ. 2442

4 พระที่นั่งพิสัยศัลลักษณ์ (หอส่องกล้อง) มีลักษณะเป็นหอสูง 4 ชั้น บริเวณกำแพงด้านทิศตะวันออกและทิศใต้ สร้างขึ้นครั้งแรกในสมัยสมเด็จพระนารายณ์มหาราช ต่อมาในสมัยพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้ทรงสร้างขึ้นใหม่อีกครั้งตามแนวรากฐานอาคารเดิม และใช้เป็นที่ประทับทอดพระเนตรดวงดาว พระที่นั่งพิสัยศัลลักษณ์ (หอส่องกล้อง) สามารถขึ้นชมทิวทัศน์ของ จ. พระนครศรีอยุธยาได้
5 ตึกโรงม้าพระที่นั่ง เป็นอาคารก่ออิฐถือปูน 2 ชั้น ตั้งอยู่ริมกำแพงด้านทิศตะวันตกเฉียงเหนือ
6 อาคารสโมสรเสือป่า สร้างขึ้นในสมัยพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ตั้งอยู่บริเวณกำแพงพระราชวังด้านทิศตะวันออก
7 ตึกที่ทำการภาค (อาคารมหาดไทย) สร้างขึ้นในสมัยพระยาโบราณราชธานินทร์ เมื่อครั้งดำรงตำแหน่งสมุหเทศาภิบาลมณฑลกรุงเก่า มีลักษณะเป็นอาคารชั้นเดียว สร้างขนานไปกับแนวกำแพงด้านทิศตะวันตกต่อกับทิศใต้
8 ระเบียงจัดตั้งศิลาจำหลัก แต่เดิมสร้างเป็นระเบียงหลังคามุงสังกะสี ยาวไปตามแนวกำแพงด้านทิศเหนือและทิศตะวันออก ใช้สำหรับเป็นที่เก็บรักษาบรรดาโบราณวัตถุและศิลปวัตถุ ซึ่งพระยาโบราณราชธานินทร์รวบรวมไว้
ในระหว่างที่พระยาโบราณราชธานินทร์ ได้รับราชการดำรงตำแห่งสมุหเทศาภิบาลมณฑลอยุธยา ท่านได้ทำการศึกษาและรวบรามเรื่องราว รวมทั้งวัตถุสิ่งของสำคัญในบริเวณกรุงเก่าและบริเวณใกล้เคียงไว้เป็นจำนวนมาก มาเก็บรักษาไว้ที่พระราชวังจันทรเกษม จนกระทั่งในปีพุทธศักราช 2445 สมเด็จฯ กรมพระยาดำรงราชานุภาพ ได้ทรงแนะนำให้พระยาโบราณราชธานินทร์ จัดตั้งพิพิธภัณฑ์ เรียกว่า โบราณพิพิธภัณฑ์ โดยในระยะแรกนั้น ใช้ตึกโรงม้าพระที่นั่งเป็นที่เก็บรวมรวม ต่อมาเมื่อวันที่ 23 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2447 พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว จึงมีพระราชดำริโปรดเกล้าฯ ให้ย้ายวัตถุต่างๆ จากโรงม้าพระที่นั่งเข้ามาเก็บรักษา และตั้งแสดงที่บริเวณอาคารพลับพลาจตุรมุข พร้อมทั้งจัดสร้างระเบียงตามแนวอาคารด้านทิศเหนือและทิศตะวันออก เพื่อจัดตั้งวัตถุ ศิลาจารึก และประติมากรรมต่างๆ จากนั้นจึงตั้งชื่อว่า อยุธยาพิพิธภัณฑ์

ในปีพุทธศักราช 2451 พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้เสด็จประพาสยุโรป เมื่อเสด็จถึงเมืองฮอมเบิค ประเทศเยอรมนี ก็ทรงมีโทรเลขมาถึงสมเด็จฯ กรมพระยาดำรงราชานุภาพ ความว่า "มิวเซียมที่นี่เหมือนมิวเซียมที่กรุงเก่า" ด้วยเหตุนี้เอง อยุธยาพิพิธภัณฑ์ในขณะนั้น จึงเป็นที่รู้จักในบรรดาผู้สนใจและรักในงานด้านประวัติศาสตร์โบราณคดีของชาติ

ต่อมา ในวันที่ 12 กุมภาพันธ์ 2479 กรมศิลปากร ได้ประกาศให้อยุธยาพิพิธภัณฑ์เป็นพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ ในนาม พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ จันทรเกษม

การจัดแสดง..
ในปัจจุบันพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ จันทรเกษม ได้มีการจัดแสดงนิทรรศการถาวรภายในพระที่นั่งและอาคารต่างๆ ดังต่อไปนี้

1. พลับพลาจตุรมุข เป็นอาคารจัดแสดงหลังที่ 1 จัดแสดงเป็นห้องที่ระลึกพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 4 จัดแสดงเครื่องใช้ส่วนพระองค์ที่มีอยู่เดิมภายในพระราชวังแห่งนี้ ได้แก่ พระแท่นบรรทม พระราชอาสน์พร้อมเศวตฉัตร พระบรมฉายาลักษณ์ และเครื่องราชูปโภคต่างๆ ที่หาชมได้ยาก นอกจากนี้ ยังจัดแสดงเรื่องราวและรูปภาพประวัติความเป็นมาของพระราชวังจันทรเกษมไว้ด้วยเช่นกัน
2. พระที่นั่งพิมานรัตยา เป็นอาคารจัดแสดงหลังที่ 2 จัดแสดงศิลปโบราณวัตถุสมัยต่างๆ ที่เก็บรวบรวมโดยพระยาโบราณราชธานินทร์ ได้แก่ ประติมากรรมที่สลักจากศิลาเป็นเทวรูปและพระพุทธรูปนาคปรก ศิลปสมัยลพบุรี กลุ่มพระพุทธรูปสำริดสมัยอยุธยาที่พบจากพระอังสะพระมงคลบพิตร และพระพุทธรูปทรงเครื่องในสมัยอยุธยาตอนปลายที่มีความวิจิตรงดงาม รวมทั้งพระพิมพ์แบบต่างๆ ที่พบจากกรุวัดมหาธาตุและวัดราชบูรณะ นอกจากนี้ ยังมีเครื่องไม้แกะสลักฝีมือช่างอยุธยาตอนปลาย และรัตนโกสินทร์ตอนต้นที่ประณีตงดงามอีกหลายชิ้นจัดแสดงรวมอยู่ด้วย
3. อาคารที่ทำการภาค เป็นอาคารจัดแสดงหลังที่ 3 สร้างขึ้นในสมัยพระยาโบราณราชธานินทร์ เมื่อครั้งดำรงตำแหน่งสมุหเทศาบาลมณฑลกรุงเก่า มีลักษณะเป็นอาคารชั้นเดียว สร้างขนานไปกับแนวกำแพงด้านทิศตะวัตตกต่อกับทิศใต้ จัดนิทรรศการถาวร 5 เรื่อง คือ
3.1 ศิลปะสถาปัตยกรรมอยุธยา จัดแสดงศิลปโบราณวัตถุที่เป็นประติมากรรมที่ใช้ประดับศาสนสถาน และชิ้นส่วนสถาปัตยกรรมแบบต่างๆ อาทิเช่น ลวดลายปูนปั้น กระเบื้องมุงหลังคา ยอดนภศูล ใบเสมาและสถาปัตยกรรมจำลอง ได้แก่ สถูป เจดีย์ ปรางค์ เป็นต้น
3.2 เครื่องปั้นดินเผา สินค้านำเข้าและส่งออกที่สำคัญของอยุธยา จัดแสดงเครื่องปั้นดินเผา ทั้งแบบเคลือบและไม่เคลือบ ที่ผลิตจากที่ต่างๆ เพื่อส่งเป็นสินค้าออกของไทย และเครื่องถ้วยจากต่างประเทศ เช่น จีน เวียดนาม ญี่ปุ่น ที่เป็นสินค้านำเข้าที่สำคัญในสมัยอยุธยา การค้าเครื่องปั้นดินเผาหรือเครื่องถ้วยต่างๆ เหล่านี้ นับเป็นปัจจัยหนึ่งที่ทำให้อยุธยาเป็นศูนย์กลางทางการค้า และเป็นเมืองท่าที่สำคัญ โบราณวัตถุที่สำคัญภายในห้องนี้ได้แก่ โถน้ำมนต์ลายครามสมัยราชวงศ์หยวนของจีน อายุประมาณพุทธศตวรรษที่ 19 - 20
3.3 อาวุธยุทธภัณฑ์ จัดแสดงอาวุธสงครามสมัยอยุธยา - รัตนโกสินทร์ ได้แก่ ปืนใหญ่สมัยอยุธยา ลูกกระสุนปืนใหญ่ชนิดต่างๆ ปืนคาบศิลา ปืนก้องไพร ปืนใหญ่หลังช้าง และเครื่องใช้ของทหารอาสาไทยที่ไปร่วมรบในสงครามโลกครั้งที่ 1
3.4 ศิลปวัตถุพุทธบูชา จัดแสดงศิลปวัตถุที่สร้างขึ้นเพื่อเป็นพุทธบูชาในพระพุทธศาสนา อาทิเช่น รอยพระพุทธบาท ตาลปัตร ระฆัง ขันสาคร เครื่องใช้ประดับมุก เครื่องทองเหลือง และตู้พระธรรมสมัยอยุธยา - รัตนโกสินทร์ตอนต้น
3.5 วิถีชีวิตชาวกรุงเก่ากับสายน้ำ จัดแสดงศิลปะโบราณ อาทิเช่น โขนเรือม้า เก๋งเรือ เครื่องมือเครื่องใช้ในการดำรงชีพ ภาพวาดริ้วกระบวนพยุหยาตราทางชลมารคในสมัยอยุธยา ที่วาดโดยชาวตะวันตก และแบบจำลองสภาพชีวิตความเป็นอยู่ของผู้คนริมฝั่งน้ำในพระนครศรีอยุธยา เพื่อสะท้อนให้เห็นภาพชีวิตของชาวกรุงศรีอยุธยามีสายน้ำเป็นตัวกำหนด สภาพสังคม เศรษฐกิจ วิถีชีวิตตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน