สถานแสดงพันธุ์สัตว์น้ำบึงฉวากเฉลิมพระเกียรติ
ประวัติ...
ก่อสร้างขึ้นภายใต้โครงการพัฒนาบึงฉวากเฉลิมพระเกียรติ เป็นโครงการเทิดพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เนื่องในวโรกาสทรงครองราชย์เป็นปีที่ 50 ได้เริ่มดำเนินการก่อสร้างเมื่อวันที่ 19 กรกฎาคม 2539 และสามารถเปิดให้ประชาชนได้เข้าชมเมื่อเดือนกุมภาพันธ์ 2541 โดยมีวัตถุประสงค์ในการจัดสร้างเพื่อให้เป็นสถานที่ศึกษาพฤติกรรมสัตว์น้ำที่สำคัญให้กับนักวิชาการ ประชาชน นักเรียน นักศึกษา ตลอดจนผู้สนใจโดยทั่วไป เพื่อปลูกสร้างจิตสำนึกให้รู้จัก และรักษาทรัพยากร อันมีค่ายิ่งของไทย
สิ่งที่น่าสนใจ..
1. อาคารแสดงพันธุ์สัตว์น้ำหลังที่ 1 ซึ่งประกอบด้วยตู้ปลาน้ำจืด ขนาด 30 ลูกบาศก์เมตร จำนวน 1 ตู้ และตู้ปลาน้ำจืด ขนาด 1 – 3 ลูกบาศก์เมตร จำนวน 24 ตู้
2. อาคารแสดงพันธุ์สัตว์น้ำหลังที่ 2 เนื่องด้วยอาคารแสดงพันธุ์สัตว์น้ำหลังที่ 1 มีขนาดเล็กสามารถ จัดแสดงพันธุ์สัตว์น้ำได้เพียง 50 กว่าชนิดเท่านั้น ฯพณฯ บรรหาร ศิลปอาชา จึงดำริให้จัดสร้างอาคารแสดงพันธุ์สัตว์น้ำหลังที่ 2 ขึ้น โดยให้ตัวอาคารทั้งสองหลังเชื่อมติดกัน ภายในตัวอาคาร ประกอบด้วย ตู้ปลาขนาดใหญ่ บรรจุน้ำได้ 400 ลูกบาศก์เมตร จำนวน 1 ตู้ สามารถเดินดูปลาได้รอบตู้ และมีอุโมงค์ลอดใต้ตู้สามารถชมความเคลื่อนไหวของสัตว์น้ำในตู้จาก อุโมงค์ได้ อุโมงค์มีความยาว ประมาณ 8.5 เมตร อุโมงค์ปลาน้ำจืด ตู้ปลาใหญ่นี้ใช้อะครีลิคในการสร้างตู้ ซึ่งอะครีลิคมีความหนาถึง 88 ม.ม. (3.5 นิ้ว) นอกจากตู้ปลาใหญ่แล้วยังมีตู้ปลาน้ำจืดขนาด 1 ลูกบาศก์เมตร อีก 30 ตู้ ซึ่งอาคารหลังที่ 2 นี้ สามารถเปิดให้ชมได้ เมื่อวันที่ 23 พฤษภาคม 2546 นอกจากตู้ปลาน้ำจืดในอาคารแสดงพันธุ์สัตว์น้ำ ยังจัดแสดงตู้ปลาน้ำเค็มด้วย โดยจัดแสดงอยู่ในอาคารหลังที่ 1 จำนวน 3 ตู้ และในอาคารหลังที่ 2 จำนวน 7 ตู้ การจัดแสดงพันธุ์ปลาน้ำจืดในอาคารแสดงพันธุ์สัตว์น้ำ ทั้ง 2 อาคาร มีทั้งพันธุ์ปลาไทยและพันธุ์ปลาต่างประเทศ ซึ่งมีประมาณ 110 ชนิด สำหรับพันธุ์ปลาที่น่าสนใจ เช่น
*ปลาบึก ซึ่งเป็นพันธุ์ปลาชนิดที่ไม่มีเกล็ด ที่มีขนาดใหญ่ที่สุดในโลก
*ปลากะโห้ เป็นพันธุ์ปลาน้ำจืดชนิดที่มีเกล็ดที่มีขนาด ใหญ่ที่สุดในโลก
*ปลาม้า ซึ่งเป็นพันธุ์ปลาที่เคยมีชุกชุมในเขตจังหวัดสุพรรณบุรีและเป็นที่มาของชื่ออำเภอบางปลาม้า
*ปลาช่อนงูเห่า ตามที่มีเรื่องเล่ากันว่าเป็นปลาที่มีพิษร้ายแรง หากกัดผู้ใดแล้วได้รับอันตรายถึงแก่ชีวิตนั้น ซึ่งไม่เป็นความจริงแต่อย่างใด เนื่องจากเป็นปลาที่ไม่มีพิษ
*ปลาเสือตอ ซึ่งเป็นปลาที่สูญพันธุ์ไปจากแหล่งน้ำธรรมชาติ ของประเทศไทยแล้ว ซึ่งในอดีตมีชุกชุมในบริเวณ แม่น้ำเจ้าพระยาและบึงบอระเพ็ด
*ปลาตาบอด ซึ่งเป็นปลาที่อาศัยอยู่ในน้ำที่อยู่ในถ้ำ เป็นปลาที่ไม่มีโอกาสเห็นแสงสว่าง นัยน์ตาไม่ได้ใช้ เป็นเวลานานจึงเสื่อมสภาพไป แต่สามารถดำรงชีวิตได้เหมือนปลาตาปกติ
*ปลากลับหัว ซึ่งเป็นปลากดชนิดหนึ่ง แต่จะแตกต่างกับปลากดชนิดอื่นๆ เนื่องจากจะชอบกลับหัว (หงายท้อง)ว่ายน้ำ
*ปลาไหลไฟฟ้า เป็นปลาน้ำจืดชนิดที่ไม่มีอยู่ในเมืองไทย ซึ่งจะพบได้ในแถบแม่น้ำอเมซอน ทวีปอเมริกาใต้ เป็นปลาที่สามารถสร้างกระแสไฟฟ้าได้ถึง 500 โวลต์ กระแสไฟฟ้าส่วนใหญ่จะใช้ในการทำร้ายเหยื่อ เพื่อเป็นอาหารของมันและใช้เพื่อป้องกันตัว สำหรับการจัดแสดงพันธุ์ปลาน้ำเค็มนั้น จะเป็น
การจัดแสดงปลาน้ำเค็มขนาดเล็กที่มีสีสันสวยงาม มีทั้งปลา ที่นำมาจากทะเลอ่าวไทยทะเลอันดามัน และนำเข้ามาจากต่างประเทศ ซึ่งมีประมาณ 60 ชนิด ตัวอย่างเช่น ปลาการ์ตูนชนิดต่างๆ ปลาผีเสื้อชนิดต่างๆ ปลาสินสมุทรชนิดต่างๆ ปลาขี้ตังเบ็ดสีต่างๆ ปลาปักเป้า ปลาไหลทะเล ปลาสิงโต ปลาค้างคาวหน้าแดง ปลาทูทอง ปลาโนรี ปลาแพะ ปลาเหาฉลาม ปลาดาว ปลิงทะเล และดอกไม้ทะเล เป็นต้น
1. อาคารแสดงพันธุ์สัตว์น้ำหลังที่ 1 ซึ่งประกอบด้วยตู้ปลาน้ำจืด ขนาด 30 ลูกบาศก์เมตร จำนวน 1 ตู้ และตู้ปลาน้ำจืด ขนาด 1 – 3 ลูกบาศก์เมตร จำนวน 24 ตู้
2. อาคารแสดงพันธุ์สัตว์น้ำหลังที่ 2 เนื่องด้วยอาคารแสดงพันธุ์สัตว์น้ำหลังที่ 1 มีขนาดเล็กสามารถ จัดแสดงพันธุ์สัตว์น้ำได้เพียง 50 กว่าชนิดเท่านั้น ฯพณฯ บรรหาร ศิลปอาชา จึงดำริให้จัดสร้างอาคารแสดงพันธุ์สัตว์น้ำหลังที่ 2 ขึ้น โดยให้ตัวอาคารทั้งสองหลังเชื่อมติดกัน ภายในตัวอาคาร ประกอบด้วย ตู้ปลาขนาดใหญ่ บรรจุน้ำได้ 400 ลูกบาศก์เมตร จำนวน 1 ตู้ สามารถเดินดูปลาได้รอบตู้ และมีอุโมงค์ลอดใต้ตู้สามารถชมความเคลื่อนไหวของสัตว์น้ำในตู้จาก อุโมงค์ได้ อุโมงค์มีความยาว ประมาณ 8.5 เมตร อุโมงค์ปลาน้ำจืด ตู้ปลาใหญ่นี้ใช้อะครีลิคในการสร้างตู้ ซึ่งอะครีลิคมีความหนาถึง 88 ม.ม. (3.5 นิ้ว) นอกจากตู้ปลาใหญ่แล้วยังมีตู้ปลาน้ำจืดขนาด 1 ลูกบาศก์เมตร อีก 30 ตู้ ซึ่งอาคารหลังที่ 2 นี้ สามารถเปิดให้ชมได้ เมื่อวันที่ 23 พฤษภาคม 2546 นอกจากตู้ปลาน้ำจืดในอาคารแสดงพันธุ์สัตว์น้ำ ยังจัดแสดงตู้ปลาน้ำเค็มด้วย โดยจัดแสดงอยู่ในอาคารหลังที่ 1 จำนวน 3 ตู้ และในอาคารหลังที่ 2 จำนวน 7 ตู้ การจัดแสดงพันธุ์ปลาน้ำจืดในอาคารแสดงพันธุ์สัตว์น้ำ ทั้ง 2 อาคาร มีทั้งพันธุ์ปลาไทยและพันธุ์ปลาต่างประเทศ ซึ่งมีประมาณ 110 ชนิด สำหรับพันธุ์ปลาที่น่าสนใจ เช่น
*ปลาบึก ซึ่งเป็นพันธุ์ปลาชนิดที่ไม่มีเกล็ด ที่มีขนาดใหญ่ที่สุดในโลก
*ปลากะโห้ เป็นพันธุ์ปลาน้ำจืดชนิดที่มีเกล็ดที่มีขนาด ใหญ่ที่สุดในโลก
*ปลาม้า ซึ่งเป็นพันธุ์ปลาที่เคยมีชุกชุมในเขตจังหวัดสุพรรณบุรีและเป็นที่มาของชื่ออำเภอบางปลาม้า
*ปลาช่อนงูเห่า ตามที่มีเรื่องเล่ากันว่าเป็นปลาที่มีพิษร้ายแรง หากกัดผู้ใดแล้วได้รับอันตรายถึงแก่ชีวิตนั้น ซึ่งไม่เป็นความจริงแต่อย่างใด เนื่องจากเป็นปลาที่ไม่มีพิษ
*ปลาเสือตอ ซึ่งเป็นปลาที่สูญพันธุ์ไปจากแหล่งน้ำธรรมชาติ ของประเทศไทยแล้ว ซึ่งในอดีตมีชุกชุมในบริเวณ แม่น้ำเจ้าพระยาและบึงบอระเพ็ด
*ปลาตาบอด ซึ่งเป็นปลาที่อาศัยอยู่ในน้ำที่อยู่ในถ้ำ เป็นปลาที่ไม่มีโอกาสเห็นแสงสว่าง นัยน์ตาไม่ได้ใช้ เป็นเวลานานจึงเสื่อมสภาพไป แต่สามารถดำรงชีวิตได้เหมือนปลาตาปกติ
*ปลากลับหัว ซึ่งเป็นปลากดชนิดหนึ่ง แต่จะแตกต่างกับปลากดชนิดอื่นๆ เนื่องจากจะชอบกลับหัว (หงายท้อง)ว่ายน้ำ
*ปลาไหลไฟฟ้า เป็นปลาน้ำจืดชนิดที่ไม่มีอยู่ในเมืองไทย ซึ่งจะพบได้ในแถบแม่น้ำอเมซอน ทวีปอเมริกาใต้ เป็นปลาที่สามารถสร้างกระแสไฟฟ้าได้ถึง 500 โวลต์ กระแสไฟฟ้าส่วนใหญ่จะใช้ในการทำร้ายเหยื่อ เพื่อเป็นอาหารของมันและใช้เพื่อป้องกันตัว สำหรับการจัดแสดงพันธุ์ปลาน้ำเค็มนั้น จะเป็น
การจัดแสดงปลาน้ำเค็มขนาดเล็กที่มีสีสันสวยงาม มีทั้งปลา ที่นำมาจากทะเลอ่าวไทยทะเลอันดามัน และนำเข้ามาจากต่างประเทศ ซึ่งมีประมาณ 60 ชนิด ตัวอย่างเช่น ปลาการ์ตูนชนิดต่างๆ ปลาผีเสื้อชนิดต่างๆ ปลาสินสมุทรชนิดต่างๆ ปลาขี้ตังเบ็ดสีต่างๆ ปลาปักเป้า ปลาไหลทะเล ปลาสิงโต ปลาค้างคาวหน้าแดง ปลาทูทอง ปลาโนรี ปลาแพะ ปลาเหาฉลาม ปลาดาว ปลิงทะเล และดอกไม้ทะเล เป็นต้น
แผนที่..
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น