วันศุกร์ที่ 15 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2551

พิพิธภัณฑ์ประวัติศาสตร์>>พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พระนคร


พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พระนคร

ประวัติ..
เดิมนั้นเป็นพิพิธภัณฑสถานส่วนพระองค์ของรัชกาลที่ 4 ซึ่งจัดเก็บรักษาศิลปะโบราณวัตถุและเครื่องราชบรรณาการต่อมาในสมัยรัชกาลที่ 5 โปรดเกล้าฯ ให้ใช้ศาลาสหทัยสมาคมหรือหอคองคอเดียในพระบรมมหาราชวังจัดตั้ง "พิพิธภัณฑสถานสำหรับประชาชน" ขึ้นจากนั้นพิพิธภัณฑ์ได้ย้ายมายังพระที่นั่ง 3 องค์ในพระราชวังบวรสถานมงคล (วังหน้า) ในสมัยรัชกาลที่ 7 ทรงพระราชทานพระที่นั่งและหมู่พระวิมานทั้งหมดในวังหน้าให้เป็น "พิพิธภัณฑสถานสำหรับพระนคร"
ลักษณะพื้นที่การจัดแสดงแบ่งเป็น 3 หมวดคือ
ประวัติศาสตร์ชาติไทย เริ่มตั้งแต่อาณาจักรสุโขทัยจนถึงสมัยรัตนโกสินทร์จัดแสดง ณ พระที่นั่งศิวโมกข์พิมาน

ประวัติศาสตร์ศิลปะและโบราณคดีในประเทศไทย แบ่งเป็น 2 ยุค โดยสมัยก่อนประวัติศาสตรแสดงในพระที่นั่งศิวโมกข์พิมานด้านหลัง ส่วนสมัยประวัติศาสตร์จัดแสดงประติมากรรมสมัยพุทธศตวรรษที่ 18 ถึงสมัยรัตนโกสินทร์ที่อาคารประพาสพิพิธภัณฑ์และประติมากรรมสมัยก่อนพุทธศตวรรษที่ 18 นั้นจัดแสดงในอาคารมหาสุรสิงหนาถ ประณีตศิลปละชาติพันธุพิทยา จัดแสดงเครื่องดนตรี เครื่องถม เครื่องถ้วย เครื่องทอง เครื่องมุก เครื่องไม้จำหลัก เครื่องสูง ผ้าโบราณ หัวโขน หุ่นกระบอก ฯลฯ ในอาคารหมู่พระวิมาน
อาคารโรงราชรถ จัดแสดงราชรถใช้ในการพระบรมศพเช่น พระมหาพิชัยราชรถ เวชยันตรราชรถ ราชรถน้อย และเครื่องประกอบในพระราชพิธีถวายพระเพลิงพระบรมศพ

นอกจากศิลปะโบราณวัตถุแล้ว พระตำหนักและพระที่นั่งบางองค์นายในพิพิธภัณฑ์ เช่น พระที่นั่งพุทไธสวรรย์พระที่นั่งมังคลาภิเษก พระตำหนักแดง ศาลาลงสรง ฯลฯ ถือได้ว่าเป็นตัวอย่างสถาปัตยกรรมไทยสมัยรัตนโกสินทร์ตอนต้นที่มีความลงตัวอันโดดเด่นและงดงามอย่างยิ่ง

ที่ตั้ง...

ที่ตั้ง:ถ.หน้าพระธาตุ แขวงพระบรมมหาราชวัง เขตพระนคร กรุงเทพฯ 10200
โทรศัพท์ (662) 224-1333
แฟกซ์ (662) 224-1404

การเดินทาง..
รถประจำทาง: 3 6 9 15 19 30 32 33 39 43 47 53 59 60 65 70 80 82 91 123 201 203
รถปรับอากาศ:1 8 25 506 507 512 สาย38 39 82
ท่าเรือ: เรือด่วนเจ้าพระยา: ท่าช้าง

การให้บริการ..
เวลาทำการ: พุธ-อาทิตย์ 9.00-16.00 น.
วันหยุดทำการ: จันทร์-อังคาร วันนักขัตฤกษ์

ค่าเข้าชม..
ค่าธรรมเนียม ค่าเข้าชม: คนไทย 20บาท ชาวต่างชาติ 100 บาท

ไม่มีความคิดเห็น: