วันพฤหัสบดีที่ 14 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2551

พิพิธวิทยาศาสตร์>>พิพิธภัณฑ์มด

พิพิธภัณฑ์มด

พิพิธภัณฑ์มด จัดตั้งขึ้นในปี พ.ศ. 2544 กล่าวได้ว่าพิพิธภัณฑ์แห่งนี้มีความสมบูรณ์ทางวิชาการมากที่สุดในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้และเป็นแห่งแรกของโลกอีกด้วย
โดยมีวัตถุประสงค์ คือ
1. เพื่อเก็บรวบรวมตัวอย่างมดจากทั่วประเทศ
2. เพื่อเก็บรวบรวมตัวแทนสกุลมดจากประเทศต่างๆทั่วโลก โดยเฉพาะในแถบเอเซียตะวันออก เฉียงใต้
3. เพื่อศึกษาด้านอนุกรมวิธาน ชีววิทยา และนิเวศวิทยาของมด
4. เพื่อเป็นแหล่งความรู้แก่ผู้สนใจทั่วไป และสามารถนำไปประยุกต์ใช้ให้เกิดประโยชน์สูงสุด ต่อตนเองและประเทศชาติ
5. เพื่อเป็นศูนย์กลางการศึกษามดในเอเซียตะวันออกเฉียงใต้
พิพิธภัณฑ์มด จัดแสดงตัวอย่างมดตามกลุ่มเป้าหมายและการใช้ประโยชน์ โดยแบ่งออกเป็น 3 ประเภท คือ


การจัดแสดง..
กลุ่มแรก เป็นการจัดตัวอย่างมดในเอเซียตะวันออกเฉียงใต้และประเทศอื่นๆ สำหรับนักอนุกรม วิธานมดเท่านั้น โดยจัดแสดงไว้ที่ห้องปฏิบัติการทางกีฏวิทยาป่าไม้ ตึกวนศาสตร์ 60 ปี

กลุ่มที่สอง เป็นการจัดแสดงตัวอย่างมดในประเทศไทย สำหรับนักวิจัยแมลงทั่วไป นักนิเวศวิทยา นักชีววิทยา เป็นต้น โดยจัดแสดงไว้ที่ห้องปฏิบัติการทางกีฏวิทยาป่าไม้ ตึกวนศาสตร์ 60 ปี

กลุ่มที่สาม เป็นการจัดแสดงตัวอย่างมดในเอเซียตะวันออกเฉียงใต้สำหรับประชาชนทั่วไป จัด แสดงไว้ที่ห้องพิพิธภัณฑ์มด ตึกวินิจวนันดร โดยเป็นการจัดเชิงประยุกต์ภายใต้แนวความคิดใหม่ เช่น มดกับสิ่งแวดล้อม มดกับมนุษย์ การประยุกต์ใช้มดกับงานด้านต่างๆ เป็นต้น เพื่อแสดงให้กับคนทุกเพศ ทุกวัย มุ่งเน้นการนำไปใช้ประโยชน์มากกว่าการเก็บรวบรวมตัวอย่าง

ลักษณะตัวอย่างมด ที่นำมาจัด แสดง มีทั้งตัวอย่างมดเปียก ซึ่งเป็น ตัวอย่างมดแบบชั่วคราวมี ประมาณ 100,000 กว่าตัว และตัวอย่างมดแห้ง เป็นการเก็บตัวอย่างแบบถาวร และจัดใน รูปแบบมาตรฐานสากลของนักอนุกรมวิธาน มด โดยจะมีการบันทึกข้อมูลด้านต่างๆ ประกอบด้วย สถานที่ ประเทศ วันเดือนปี ชื่อผู้เก็บ ชื่อชนิดมด ชื่อผู้จำแนก ซึ่งใน พิพิธภัณฑ์มดมีตัวอย่างมดแห้งมากกว่า 20,000 ตัว
การจัดแสดงตัวอย่างมดในประเทศไทยสำหรับนักวิจัยทางแมลงทั่วไป นักนิเวศวิทยา นักชีววิทยา และอื่นๆ ตัวอย่างมดแห้งจัดแสดงตามลักษณะถิ่นอาศัยในกล่องไม้ติดกระจกการจัดแสดงตัวอย่างมดในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้สำหรับบุคคลทั่วไป ที่ห้องพิพิธภัณฑ์มดภายใต้แนวคิดเพื่อคนทุกวัย มุ่งเน้นการนำไปใช้ประโยชน์ มากกว่าการเก็บรวบรวมตัวอย่าง อาทิ มดกับมนุษย์ สำรวจร่ายกายมด มดกับระบบนิเวศ มดกับวิถีชีวิตไทย โดยมีตัวอย่างแห้ง รังมด ภาพถ่ายการจำลองถิ่นอาศัย และการเลี้ยงมดจริง การประยุกต์ใช้มดในงานต่างๆ มหกรรมมดนานาชาติ
ที่ตั้ง..
สำหรับสถานที่ตั้งของพิพิธภัณฑ์มด นี้มี 2 แห่ง เพื่อความสะดวกในการใช้ ประโยชน์ของผู้เยี่ยมชม ดังนี้
ห้องปฏิบัติการทางกีฏวิทยาป่าไม้ ตึกวนศาสตร์ 60 ปี สำหรับนักวิจัย
ห้องพิพิธภัณฑ์มด ชั้น 2 ตึกวินิจ วนันดร สำหรับประชาชนทั่วไป
การให้บริการ..
เปิดให้เข้า ชมฟรี ระหว่างวันจันทร์-ศุกร์ เวลา 09.00- 16.00 น. สำหรับวันหยุดต้องติดต่อเป็น กรณีพิเศษ โดยทุกครั้งที่มีการเยี่ยมชมจะมี ผู้บรรยายตลอดการเข้าชม

ติดต่อ..
สนใจสอบถาม รายละเอียดเพิ่มเติม หรือติดต่อขอเข้า เยี่ยมชมได้ที่ รศ.เดชา วิวัฒน์วิทยา ภาควิชาวนชีววิทยาป่าไม้ คณะวน ศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ จตุจักร กรุงเทพฯ 10900 โทรศัพท์ 0-2579-0176 โทรสาร 0-2942-8107

ไม่มีความคิดเห็น: