วันศุกร์ที่ 15 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2551

พิพิธภัณฑ์ประวัติศาสตร์>>พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ หอศิลป



พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ หอศิลป

ประวัติ..
เนื่องจากการค้าขายกับประเทศทางตะวันตกมีมากขึ้นเงินพดด้วงที่ใช้มีปริมาณไม่พอ รัชกาลที่ 4 จึงโปรดเกล้าฯให้ซื้อเครื่องจักรทำเหรียญเงินมาติดตั้งที่โรงกษาปณ์สิทธิการในพระบรมมหาราชวังซึ่งต่อมาได้เลิกไป เมื่อถึงสมัยรัชกาลที่ 5 โปรดเกล้าฯ ให้สร้างขึ้นใหม่แทนของเดิม เมื่อทำการผลิตจนเครื่องจักรเสื่อมสภาพจึงย้ายไปตั้งที่ถนนปฏิพัทธิ์อาคารโรงกษาปณ์จึงว่างลง กรมศิลปากรได้ขอใช้อาคารนี้จากกรมธนารักษ์ทำการปรับปรุงเป็นหอศิลปะแห่งชาติในปี 2517


การจัดแสดง..
อาคาร เป็นสถาปัตยกรรมแบบประยุกต์ผสมผสานระหว่างศิลปะตะวันตกศิลปะไทย ถือเป็น “สถาปัตยกรรมตัวอย่างในสมัยรัชกาลที่ 5”


นิทรรศการถาวร
ผลงานที่จัดแสดงเป็นการรวบรวมงานศิลปะสมัยใหม่ของศิลปินไทยทีมีชื่อเสียงทั้งในอดีตและ ปัจจุบัน อาทิ เช่น ภาพฝีพระหัตถ์รัชกาลที่ 6 และพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวองค์ปัจจุบัน ภาพพระบฏ จิตรกรรมไทยประเพณี งานศิลปะร่วมสมัยตั้งแต่ยุคแรกจนถึงปัจจุบัน

นิทรรศการชั่วคราว
มีทั้ง ศิลปินไทยและจากต่างประเทศโดยมีการจัดแสดงหมุนเวียนสลับกับนิทรรศการประจำปีล้วนแต่เป็นผลงานที่ผ่านมาตรฐานการคัดเลือก ซึ่งมีทั้งงานจิตรกรรม ประติมากรรม ภาพพิมพ์และศิลปะการจัดวาง

ภายในมีห้องสมุด ร้านจำหน่ายหนังสือ โปสการ์ดและของที่ระลึก ส่วนผู้ที่สนใจเข้าฟังการบรรยาย อบรม สัมมนา และต้องการทราบปฏิทินงานแสดง สามารถจะสอบถามรายละเอียดได้ที่ฝ่ายบริการการศึกษาของพิพิธภัณฑ์


ที่ตั้ง..
ที่ตั้ง:ถ.เจ้าฟ้า แขวงชนะสงครามเขตพระนคร กรุงเทพฯ 10200
โทรศัพท์: (662) 282-2639 281-2224 1แฟกซ์: (662) 282-2640


การเดินทาง..
รถประจำทาง: 3 6 9 32 33 43 53 64 65
รถปรับอากาศ: 39 80 506
ท่าเรือ:เรือด่วนเจ้าพระยา: ท่าบางลำภู


การให้บริการ..
เวลาทำการ:พุทธ-อาทิตย์ 9.00-16.00 น.วันหยุดทำการ: จันทร์ อังคารวันนักขัตฤกษ์ค่าธรรมเนียม


ค่าเข้าชม..
ค่าเข้าชม:คนไทย 10 บาท .ชาวต่างชาติ 10 บาทนักเรียน นักศึกษา นักบวช ฟรี


ข้อห้าม..
ห้าม:ถ่ายภาพภายในอาคาร

ไม่มีความคิดเห็น: