วันพฤหัสบดีที่ 14 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2551

พิพิธภัณฑ์ธนาคาร>พิพิธภัณฑ์ธนาคารแห่งประเทศไทย

พิพิธภัณฑ์ธนาคารแห่งประเทศไทย
พิพิธภัณฑ์ธนาคารแห่งประเทศไทย ตั้งอยู่ใน ตำหนักวังบางขุนพรหม ซึ่งเป็นโบราณสถานที่มี ความงดงามทางสถาปัตยกรรมและศิลปกรรม แห่งหนึ่งของกรุงรัตนโกสินทร์ ปัจจุบันจัดแสดง วิวัฒนาการด้านเงินตราที่สมบูรณ์แบบของประเทศ เพื่อเผยแพร่ความรู้แก่บุคคลทั่วไปโดยเฉพาะ เยาวชน ให้ตระหนักถึงคุณค่าแห่งมรดกทางวัฒนธรรมของชาติ

วังบางขุนพรหม มีประวัติยาวนานเกือบร้อยปี ตำหนักวังบางขุนพรหม แบ่งออกเป็น 2 ส่วนคือ ตำหนักใหญ่และตำหนักสมเด็จ สำหรับตำหนัก ใหญ่ก่อสร้างเสร็จสมบูรณ์เมื่อปี 2449 โดยมี สถาปนิกชาวอิตาเลียนคือนายมาริโอ ตามาญโญ เป็นผู้ออกแบบตามศิลปะสถาปัตยกรรมแบบ บาโรก และโรโกโก
ส่วนตำหนักสมเด็จ สร้างขึ้นภายหลังประมาณ ปี 2456 เพื่อเป็นที่ ประทับของสมเด็จพระปิตุจฉาเจ้า สุขุมาลมารศรี พระอัครราชเทวี โดยมี นายคาร์ล เดอริง สถาปนิกชาวเยอรมัน เป็นผู้ออกแบบ มีลักษณะ ศิลปะสถาปัตยกรรม แบบอาร์ตนูโว และอาร์ตเดโค นอกจากนี้ยังมี ภาพวาดปูนเปียก ภาพนักบวชหญิงในสวน ดอกไม้ อยู่บนผนังภายในตำหนักสมเด็จ ซึ่งเป็นฝีมือของนายริโกลี จิตรกรชาวอิตาเลียน ด้วย
นอกจากนี้ ตลอดระยะเวลา 30 ปี ที่วังบางขุนพรหมเป็นที่ประทับ ของสมเด็จฯ เจ้าฟ้าบริพัตร สุขุมพันธุ์ กรมพระนครสวรรค์วรพินิต วังบางขุนพรหม ยังเป็น สถานที่ประชุมสโมสรสันนิบาต ต้อนรับแขกบ้านแขกเมืองมาหลายสมัย ทั้งยังเป็น แหล่งรวมศิลปวิทยาการแขนงต่าง ๆ เช่น เป็นที่ สอนวิชาการต่าง ๆ โดย ครูชาวต่างประเทศ ให้กับ บรรดาพระธิดาและเจ้านายฝ่ายในของวังอื่น ๆ เรียกกันว่า "บางขุนพรหมยูนิเวอร์ซิตี้" เป็นต้น อีกทั้ง สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้าบริพัตร สุขุมพันธุ์ กรมพระนครสวรรค์วรพินิต โปรดการดนตรีทั้งไทยและสากล ได้ทรงนิพนธ์เพลงไว้ถึง 39 เพลง ที่รู้จัก กันดีถึงปัจจุบัน นอกจาก การดนตรีทรงสนพระทัย ค้นคว้าและเลี้ยงกล้วยไม้ด้วย วังบางขุนพรหมจึงเป็นที่สังสรรค์ของพระบรม วงศานุวงศ์ ทูตานุทูต ศิลปิน ตลอดจนนักเล่น กล้วยไม้ ไม้ดัด เครื่องลายคราม และเครื่องมุก ฯลฯ ซึ่งสิ่งเหล่านี้ยังสืบทอดมาเป็นมรดกทางวัฒนธรรมจวบจนปัจจุบัน

การให้บริการ..
พิพิธภัณฑ์ธนาคารแห่งประเทศไทย ยินดี ต้อนรับ คณะบุคคลทั่วไป ในระหว่างเวลา 9.00-12.00 น. และ 13.00 - 16.00 น. ตั้งแต่วันจันทร์ถึงวันศุกร์ยกเว้นวันหยุดธนาคาร
ที่ตั้ง..
พิพิธภัณฑ์ธนาคารแห่งประเทศไทย
273 ถนนสามเสน บางขุนพรหม กรุงเทพฯ 10200
โทรศัพท์ 0-2283-6723, 5286, 5265
โทรสาร 0-2628-5892
E- mail : Amporn@bot.or.th

ไม่มีความคิดเห็น: